พระพุทธศาสนาเกิดในประเทศไทย ใช่หรือไม่?


วันอังคาร ที่ 4 กันยายน 2550

Posted by kingkaoz , ผู้อ่าน : 2140 , 22:46:05 น.
หมวด : ศิลปะ/วัฒนธรรม

พิมพ์หน้านี้
โหวต 0 คน

เมื่อข่าวการเผยแพร่ความคิดที่ว่า พระพุทธเจ้า น่าจะไม่ได้อุบัติขึ้นในอินเดียโบราณ คนไทยเป็นจำนวนมากไม่เชื่อ บางคนถามว่า “คิดได้อย่างไรนี่” หรือ “เหลวไหล เพ้อฝัน ไร้สาระ ไม่มีอะไรจะทำหรืออย่างไร ทำไมไม่มุ่งดับทุกข์ตามคำสอนของพระองค์ มากกว่าที่จะมาพิสูจน์เรื่องอย่างนี้ สำคัญมากนักหรือว่า พระพุทธเจ้าจะเป็นชนชาติใด ผิดมากไหมหากจะไม่เห็นด้วย?

ทีมผู้วิจัย เห็นว่า เป็นเรื่องสำคัญ แม้จะไม่ผิด ที่ต้องพิสูจน์ว่า พระพุทธองค์ เป็นชนชาติไทย ใครเห็นว่า ไม่สำคัญก็คงบังคับไม่ได้ หากพ่อแม่เราเป็นคนไทย แล้วมีฝรั่งมาบอกว่า เรา เป็นแขก เราก็คงไม่รับ จริงไหม? แต่นี่ เป็นเรื่ององค์พระศาสดาที่เราเคารพเทิดทูน อยู่ๆ ก็มีฝรั่งที่จะมุ่งหวังลาภสักการะ หรือผลทางการเมืองอะไรก็ช่างเถอะ มาทำการเปลี่ยนแปลงประวัติพระพุทธศาสนา เพื่อแสดงว่า เชื้อชาติของเขายิ่งใหญ่ และก็ไม่ได้นับถือพระพุทธศาสนา มาเขียนประวัติพุทธศาสนาใหม่ ต้องถามถึงความชอบธรรมด้วย …ปฐม เหตุแห่งความสงสัยเกิดจากคำถามและข้อสังเกตบางประการ อาทิ

“เหตุใด ในประเทศไทย จึงมีโบราณสถานและโบราณวัตถุเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า เป็นจำนวนมาก แต่ในอินเดียและเนปาล กลับมีไม่ถึง ๒๐๐ แห่ง

“ทำไม พระเจ้าอโศกของอินเดียไม่ได้จารึกเรื่องสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๓ ไว้ในเสาหินอโศก ทั้งๆ ที่เป็นเหตุการณ์สำคัญมากตามที่บัญญัติไว้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา…..

“ทำไม ปีที่ขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าอโศกอินเดีย (พ.ศ.๒๖๙-๓๐๖) จึงไม่ตรงกับข้อมูลที่เกี่ยวกับพระเจ้าอโศก (พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช) ที่ระบุในพระปฐมสมโพธิกถาว่า กระทำสังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. ๒๓๕ และสิ้นพระชนม์ พ.ศ.๒๕๙ พระเจ้าอโศกอินเดีย กับพระเจ้าอโศกไทย จะเป็นคนละองค์กันหรือไม่….

“ช่วงเวลาเข้าพรรษา คือกลางเดือนแปด ถึงกลางเดือน ๑๑ ทำไมตรงกับเมืองไทยพอดี?”

ฯลฯ

ข้อ สงสัยเหล่านี้ ประจวบกับ ข้อมูลที่ไม่ตรงกันระหว่างสภาพจริงในอินเดีย และในพระไตรปิฎก โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับสภาพภูมิประเทศ ประเพณี วิถีชีวิต โบราณคดี สถาปัตยกรรม ภาษา หลักฐาน/ตำนานไทย ฯลฯ ประกอบกับงานเขียนของพระธรรมเจดีย์ (ปาน) จุดชนวนทำให้พวกเราทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ขึ้น
ในอินเดียปัจจุบัน มีโบราณสถานและโบราณวัตถุจำนวนน้อย เมื่อเทียบกับที่มีในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

นอก จากโบราณสถานที่อ้างว่า เป็นที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงธรรม ปรินิพพาน และอีก 2-3 แห่งที่เมืองสานจี ถ้ำอาชันตา และนาลันทาแล้ว รวมทั้งสิ้นประมาณ ๑๒๑ แห่งแล้ว ไม่มีโบราณสถานอื่น เช่น พระพุทธบาท เจดีย์ วิหาร ฯลฯ หลงเหลือให้เห็นเลย แม้แต่ที่อ้างว่า พระเจ้า อโศกมหาราชสร้างวิหาร 84,000 วิหารถวายเป็นพุทธบูชา ก็ต้องถามว่า อยู่ที่ไหนบ้าง

พระเจ้าอโศก มหาราช จึงมี ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าอโศกแขกที่ Sir Alexander Cunningham อ้างว่า ได้เขียนเสาจารึกพระเจ้าอโศกด้วยอักษรพราหมี กับพระเจ้าอโศกของไทย (พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช) ที่ครองเมืองอโสกไทย (เมืองปาตาลีบุตรหรือฮ้างหลวง) ซึ่งขณะนี้ มีหลักฐานเด่นชัดว่า เมืองปาตาลีบุตรอยู่ห่างจากศรีสัชนาลัย ๒-๓ ชั่วคืน (จารึกวัดศรีชุม) และพระเจ้าเทวานัมปิยัน ปิยทัสสี(Devanum Piyan Piyatassi) ซึ่งแขกอ้างว่า คือ พระเจ้าอโศกมหาราช กับพระเจ้าอโศกไทยที่ทำสังคายนาพระไตรปิฎกและสร้างวัดวิหาร ๘๔.๐๐๐ แห่ง เป็นคนละองค์กัน

ในดินแดนสุวรรณภูมิ มีเจดีย์ พุทธวิหาร พระบรมสาริกธาตุ พระพุทธบาทมากมายรวมกันเป็นหมื่นแห่ง เช่น พระเสมหธาตุ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงอาเจียน ออกมาเป็นพระโลหิต ก็มีพบเห็นที่วัดเพชรพลี จังหวัดเพชรบุรี นอกจากนี้ ยังมีถ้ำพระพุทธฉาย รอยพระพุทธบาท อยู่หลายแห่งกระจายอยู่ทั่วประเทศ

ในสมัยพระพุทธกาล ประเทศเขมรเป็นดินแดนที่เรียกว่า “กุรุราฐ” (แดนทราย กุรุ=ทราย) ส่วนใหญ่เป็นแผ่นดินล้อมรอบด้วยทะเล ชายฝั่งทะเลด้านเหนืออยู่ที่ฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเห็นได้ชัดเจน คือเขาพระวิหาร จะเป็นเชิงเขาลึกลงไป เพราะเป็นทะเลลึกในอดีตกาล ในพงศาวดารกรุงเก่า ระบุไว้ชัดเจนตอนพระนเรศวรเสด็จไปปราบพระยาละแวก และทำพิธีปฐมกรรม สมเด็จพระนเรศวรได้เอ่ยถึงเขมรว่าเป็น “อินทปัตถ์นครแห่งกุรุรัฐ” หรือ กุรุราฐ.
สภาพภูมิประเทศ ของเนปาล และอินเดียในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกหลายประการที่ เกี่ยวกับปราสาท 3 ฤดู ช่วงเวลา เข้าพรรษา และระยะทางจากเมืองต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระสูตร และตามที่เป็นจริง

ปราสาท 3 ฤดู ตามพุทธประวัติ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถเจริญวัย พระราชบิดาได้โปรดให้สร้างปราสาท 3 ฤดู คือ ปราสาทฤดูร้อน ปราสาทฤดูฝน และปราสาทฤดูหนาว

แต่เมื่อดูที่ตั้งในเนปาล ดินแดนที่อ้างว่าเป็นที่ตั้งของกรุงกบิลพัสดุแล้ว ปรากฏว่า อยู่เหนือเส้นขนานที่ 24 จัดอยู่ในเขต Tropic of Cancer ซึ่งมี 4 ฤดู ประเทศเนปาลตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัยซึ่งโดยทั่วไปจะมีอากาศเย็น ดังนั้นกรุงกบิลพัสดุซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาท 3 ฤดูจึงไม่น่าจะอยู่ใน ประเทศเนปาล

ช่วงฤดูเข้าพรรษา ตามพระวินัยกำหนดให้พระอยู่ประจำพรรษา 3 เดือนในช่วงเดือนสิงหาคม-กลางเดือนตุลาคม (กลางเดือน ๘ – กลางเดือน ๑๑) ตรงกับช่วงเข้าพรรษาในเมืองไทยไม่คลาดเคลื่อนเลย

แต่ในเนปาล และอินเดียตะวันตก จะมีฝนตกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ดังนั้นการกำหนดช่วงเข้าพรรษา จึงน่าจะไม่ใช่กำหนดตาม สภาพ ภูมิศาสตร์ในเนปาลหรืออินเดียตะวันตก แต่น่าจะกำหนดตามสภาพภูมิศาสตร์ ในดินแดน สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นที่ตั้งของไทย ลาว เขมร พม่า และมอญในปัจจุบัน เพราะแม้ เหตุการณ์จะผ่านไปกว่าสองพันปีช่วงเวลาเข้าพรรษาก็ตรงกับที่บัญญัติไว้ในพระ วินัย
สถาปัตยกรรมที่ปรากฏอยู่บน สิ่งปลูกสร้างและเจดีย์ต่างๆ ในประเทศไทย มีลักษณะโดดเด่นในด้านความสวยงาม ประณีต อ่อนช้อย ไม่มีใครเหมือน และยืนยงอยู่เป็นพันๆ ปี

รูปร่างวัด โบสถ์ และเจดีย์ทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในดินแดนสุวรรณภูมิ มีลักษณะ เด่น แตกต่างจากของ แขกอย่างสิ้นเชิง

ใน ดินแดนสุวรรณภูมิ ไม่ว่าจะเป็นในไทยลาว พม่า มอญ มีวัด วิหาร และโบสถ ์เป็นจำนวนหลายหมื่นแห่ง บางวัดมีอายุกว่า สองพันปี ลักษณะเด่นเหล่านี้ ถ่ายทอด มาถึงวัดไทยในปัจจุบัน แม้จะมีความแตกต่าง กันบ้างในแต่ละภูมิภาค แต่องค์ประกอบ ยังคงเหมือนกัน
ส่วนวัดในอินเดียหรือเนปาลในปัจจุบัน มีลักษณะออกไปทางฮินดู ไม่ประณีต แม้แต่พระเจดีย์ ที่พุทธคยาก็มีรูปร่างแปลก ฝีมือการก่อสร้างก็มีความประณีตสู้พระเจดีย์ ในประเทศไทย เช่น ที่วัดอรุณ พระแก้วมรกต พระธาตุพนม จังหวัดหนองคาย หรือ พระมหาเจดีย์ที่ผาน้ำย้อย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นต้น สถานที่สร้าง ครอบพระพุทธรูปปางไสยาสน์จำลอง ที่เมืองซึ่งอ้างว่าเป็นกุสินาราย ก็สร้างพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่พระเศียรหนุนหมอน แต่ในพระคัมภีร์บรรยายว่า ซึ่งประทับนอน โดยใช้พระหัตถ์ขวาหนุนพระเศียร เป็นต้น.

หากพุทธ สถาปัตยกรรมมาจากอินเดีย ทำไม เจ้าของไม่มี อะไรหลงเหลือไว้ให้ลูกหลานได้ภาคภูมิใจ จึงไม่ง่าย ไปหรือ ที่เราจะไปเชื่อว่า เรานำพุทธสถาปัตยกรรม มาจากอินเดีย

พุทธศิลป มีความ ละเอียดอ่อนมาก ต้องการช่างศิลป ที่มีจิต ศรัทธาในการสร้างสรรค์ ผลงาน และมีนายทุน ที่มีความเลื่อมไสศรัทธา จึงสามารถ สร้างผลงาน พุทธสถาปัตยกรรม ที่ประณีต โดดเด่น ดังที่พบเห็นในวัดโบราณทั้ง ในต่างจังหวัด และในเมืองใหญ่หรือในกรุงเทพมหานคร
วิถีชีวิตของบรรดาพระ ภิกษุ พระภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และชาวบ้านชาวเมืองดังที่ปรากฏใน พระไตรปิฎกกับ กับวิถีชีวิตชาวอินเดียและเนปาลในปัจจุบัน มีหลายอย่างที่ขัดแย้งกัน อาทิ ความใจกว้าง ความใจบุญ อาหารการกิน พืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นต้น

นิสัยใจคอของชาวอินเดีย ในกลุ่มคนไทยเป็นที่รู้กันเมื่อถามว่า เห็นแขกและงู คนไทยจะ ตีอะไรก่อน คำตอบก็คือ ตีแขกก่อน ที่เป็นเช่นนี้ เป็นเพราะ แขกที่คนไทยรู้จัก เป็นคนอย่างไรย่อมเป็นที่เข้าใจกัน ดังนั้น เมื่ออ่านพบว่า มีเรื่อง เศรษฐีใจ บุญ ที่ตั้ง โรงทานแจกทาน คนยากจน สร้างมหาวิหารถวายพระพุทธองค์ ปรากฏในพระไตรปิฎก เช่น อนาถปิณฑิก(มหาอุบาสก) เศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี (ตำบลสาวะถี ขอนแก่น) หรือ เศรษฐีธนัญชัยบิดาของนางวิสาขามหาอุบาสิก ที่พระเจ้าพิมพิสารทรงอนุญาตให้อพยพมาอยู่แคว้นโกศลตามคำขอของพระราชาปทีป เสนธิโกศล และได้มาสร้างเมืองสาเกต(ร้อยเอ็ด) ฯลฯ ก็น่าจะยอมรับได้ว่า ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ที่อยู่ในดินแดนสุวรรณภูมินี่เอง

ข้าวที่ บริโภคในสมัยพระพุทธกาล สิ่งที่พระภิกษุไทยแปลกใจมาก ก็คือ พระพุทธองค์ เสวยข้าวเหนียว ทั้งนี้ รวมทั้งข้าวปธุปายาส (ข้าวทิพ) และข้าวยาคู ก็ทำจากข้าวเหนียว

คำว่า “ในบ้าน” ดังปรากฎอยู่ในเรื่องราวต่างๆ ในพระไตรปิฎก หมายถึง “ในหมู่บ้าน” เป็นคำที่ชาวอิสาน ใช้กันแม้ในปัจจุบันนี้ เช่น “แม่ใหญ่จะเข้าไปในบ้าน เพื่อซื้อหมากพลู….” อยากทราบว่า อินเดียใช้ในความหมาย อย่างนี้หรือไม่ ใครทราบช่วยบอกด้วย
ใน ประเทศไทย ลาว เขมร พม่าและมอญ การดำเนินชีวิตกลมกลืนกับเรื่องราวในพระไตรปิฎก คนถิ่นนี้ โดยเฉพาะคนไทย-ลาว จึงอ่านเรื่องราวในชาดก หรือพระสูตร อย่างเข้าใจ เพราะไม่มีอะไรขัดแย้งกับที่เคยพบเห็นในอดีตหรือปัจจุบัน

้พืชพันธุ์ธัญญาหาร มากกว่า ๒๖๔ ชนิดที่ได้กล่าวถึงในพระไตรปิฎกเป็นพืชท้องถิ่นของสุวรรณภูมิ อาทิ

“หญ้า กับแก้” หญ้าชนิดหนึ่ง ที่พระพุทธองค์เสวยแทนอาหาร เมื่อครั้งแสวงหาสัจธรรม (หญ้ากับแก้ เป็นภาษาอีสาน ภาษากลางคือ หญ้าตุ๊กแก) หลังจากที่ทรงอดพระยาหาร จนผมหนังติดกระดูก พระองค์จึงเริ่มเสวยดูดน้ำจากหญ้ากับแก้นี้ก่อน หลังจากนั้นก็เสวยผลกะเบา แล้วจึงเสวยพระกระยาหารปรกติ

“ลูกกะเบา” ก็เป็นพืชที่เกิดขึ้นในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ลูกกะเบาใช้รักษาโรคเรื้อนได้

“เล็บเหยี่ยว” (ลูกเล็บแมวของอิสาน) พระพุทธองค์อนุญาตให้นำมาทำเป็นน้ำปานะได้

“ชมพู” คือลูกหว้าชมพู ซึ่งเป็นลูกหว้าขนาดใหญ่ มีสีและขนาดเหมือนลูกเชอรี่ ประเทศอินเดียมีลูกหว้าขนาดใหญ่กว่าหว้าชมพู แต่ชาวอินเดียไม่ได้ใช้คำว่า “ชมพู” เป็นชื่อเรียกลูกหว้าชนิดนั้น
ภาษามคธ เป็นภาษาของชนชาติไทยโบราณ เนื่องจากเป็นภาษาที่บันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงเรียกว่า บาลี ซึ่งแปลว่า คำสอน ภาษามคธจึงนิยมเรียกว่า ภาษาบาลี

ภาษาบาลี เป็นของชาวสุวรรณภูมิ แต่กลายเป็นของอินเดีย เพราะฝรั่ง เช่นกัน หนึ่งใจจำนวนนั้นคือ คุณหมอบลัดเลย์ ผู้ร่วมก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช และผู้ก่อตั้งโรงเรียนอรุณประดิษฐ์ จังหวัดเพชรบุรี และเป็นผู้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศสยาม คุณหมอบลัดเลย์ท่านบอกว่า อักษรไทยมาจากอินเดียใน พ.ศ. ๒๔๑๓

ภาษามคธ มีอักษรที่ใช้จารึก เรียกว่า อักษรธรรม ซึ่งออกแบบให้เขียนตามหลักไวยกรณ์และหลักการสังโยคภาษาบาลี เช่น ตำแหน่งพยัญชนะและสระจม สระลอย ใบลานส่วนใหญ่ที่พบเห็นที่อิสานหรือทางเหนือ ล้วนเป็นพระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาหรือเกี่ยวเนื่องกันทั้งนั้น

หากภาษาบาลีไม่ใช่ภาษาของชาวเหนือและอิสานแล้ว เหตุใดการประดิษฐ์อักษร จึงสอดคล้องความต้องการใช้ในภาษาบาลี

อักษร ขอมก็เช่นเดียวกัน เป็นอักษรไทยที่ขุนขอมไทยประดิษฐ์ขึ้น 15 ปีหลังจากน้องชายของท่าน คือ ขุนสือไทย คิดลายสือไทยขึ้นเมื่อปีอิน 1235 (6,765 ปีมาแล้ว) ลายสือไทยและลายขอมไทยจึงเป็นอักษรไทย ไม่ใช่ของเขมร และไม่คำว่า “ภาษาขอม” มีเฉพาะ “อักษรขอม” นักภาษาไทยควรใช้คำให้ถูกต้อง

ดัง นั้น ภาษาธรรมที่ใช้บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งมีหลักฐานว่า มีภาษาเขียนแล้ว เพราะพระพุทธองค์ทรงตรัสคำว่า “ใบลานเปล่า” “มา ปิฎก…ไม่ให้เชื่อตำรา….” มาตั้งแต่ครั้งที่ทรงพระชนม์อยู่

นอกจากนี้ การใช้ภาษาบาลีและภาษาไทยลาวควบคู่กันมีรูปแบบที่ชัดเจน ที่แสดงว่า ชาวมคธกับชาวไทยลาวเคยอยู่ร่วมกันหรือเป็นเผ่าพันธุ์เดียวกัน หากแต่ว่าสองพันกว่าปีทำให้ภาษากรายเป็นอย่างปัจจุบัน โปรดดูข้อสังเกตของคุณอาตม ใน”ความจริงซึ่งไร้หลักฐานทางเอกสาร ที่นักวิชาการต้องหัวร่อ”

การสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๑ ต้องมีการบันทึกลงใบลานแล้ว มิใช่จดจำหรือเป็น “มุขปาฐะ” ดังที่สั่งสอนกันว่า มีการบันทึกลงใบลานครั้งแรกในสังคายนาครั้งที่ ๔ ที่ลังกา

ต่อไปนี้ แสดงให้เห็นว่า ภาษาบาลี อยู่ในสุวรรณภูมิ

6.1 ชื่อเมือง แม่น้ำ ป่า คนฯลฯ ในสุวรรณภูมิส่วนมากใช้ภาษาบาลี เช่นแม่น้ำกุกกนที (แม่น้ำกก) แม่น้ำ ขรนที หรือ แม่น้ำธนนที (แม่น้ำโขง) ธนมูลนที (แม่น้ำมูล) ชีวายนที (แม่น้ำชี) ลัมภคารีวัลย์ (ลำปางหลวง) ฯลฯ จึงมั่นใจว่า ภาษามคธหรือภาษาบาลี เป็นภาษาดั้งเดิมที่ชาวไทยลาวใช้ในแดนสุวรรณภูมิ ดังนั้นแคว้นมคธ จึงน่าจะอยู่ในแดนสุวรรณภูมิมากกว่าอยู่ในอินเดีย
แม้แต่คำว่า “ของลับ” ที่ใช้กันในภาษาไทยและลาว ก็เป็นภาษาบาลี คือ “คุยห” ที่มีการแผลงสระอุ เป็น ว (ภาษากลาง) หรือ ตัดไปเลย (ภาษาอิสาน) ส่วน “ห” เสียงหายไป

อีก คำหนึ่งคือ กาลามะ ที่มาของ “กาลามสูตร” ก็มาจากพวก “กุลา” แผลง อุ เป็น อะ และเป็นอา ชาวกุลาเป็นชนเผ่าหนึ่งทางภาคอิสาน อาศัยอยู่แถวทุ่งกุลาร้องไห้

6.2 วัฒนธรรม ของสุวรรณภูมิมีมายาวนาน ตามการศึกษาจากกระเบื้องยางที่คูบัวของพระราชกวี (อ่ำ ธัมมทัตโต) แห่งวัดโสมนัสวิหาร

ถ้า เทียบกับภาพยนตร์ ก็คล้ายกับว่า Episode 1 2 3 หรือหนังม้วนแรกๆ ที่บอกว่า อินเดียนำวัฒนธรรมไปจากดินแดนสุวรรณภูมิเมื่อหลายพันปีมาแล้วเกิดสูญหายไป เหลือแต่ Episode 4, 5, 6 หรือหนังม้วนหลังๆ ที่ฉายให้เห็นว่า วัฒนธรรมอินเดียแผ่ซ่านมาถึงดินแดนสุวรรณภูมิ อะไรต่ออะไรจึงกลายเป็นของอินเดียหมด แม้แต่ศาสนาพราหมณ์ ภาษาบาลี เป็นต้น

ข้อมูลใหม่ (ข้อมูลจาก คุณกฤตกิตติศักดิ์ ไพตรีจิตต์ นักศึกษาประวัติพุทธศาสนา-ไต้หวัน)

หลัก ฐานเอกสารหนึ่งที่แสดงว่า ภาษาบาลีเกิดขึ้นในดินแดนไทย คือ หนังสือ O. von Hinuber. Seleced Papers on Pali Studies. Oxford: The Pali Text Society,1994, ที่มีเนี้อหาบางตอนได้กล่าวถึง คำว่า “บาลี” ว่า ชาวตะวันตกได้รู้จักคำว่า “บาลี” หรือ “ภาษาบาลี” เป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ 17 โดย M. Simon de la Loubere ซึ่งเป็นเอกอัครราชฑูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ได้ถูกส่งมาประจำที่ไทย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อ ค.ศ.1687 (พ.ศ. 2230) โดยกล่าวว่า บาลีเป็นภาษาที่คณะสงฆ์ได้ใช้กันอย่างแพร่หลาย หลักฐานนี้สนับสนุนว่า ภาษาบาลีเกิดในประเทศไทย และแสดงให้เห็นว่า ชาวตะวันตกได้รู้จักภาษาบาลีครั้งแรกจากประเทศไทย จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมฝรั่งไม่ได้รู้จักชื่อ “บาลี” นี้จากที่อื่น ทั้งๆ ที่ในสมัยนั้นฝรั่งตะวันตกจากประเทศต่าง ๆ ได้ออกไปล่าอาณานิคมในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศรีลังกาและอินเดีย ฯลฯ แต่ก็ไม่มีการกล่าวถึงภาษาบาลีเลย มีที่กล่าวถึงก็เฉพาะภาษาสันสกฤต (ที่ชาวอังกฤษบางคนชื่อ James Prinsep เป็นผู้เชี่ยวชาญ) อาจเป็นไปได้ว่า ภาษาบาลีที่คณะสงฆ์ในแถบประเทศอื่น ๆ ใช้นั้น ไม่ได้มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง หรือเด่นชัดเท่ากับที่ใช้ในประเทศไทย เพราะประเทศไทยเป็นต้นฉบับของภาษาบาลี จึงมีการใช้ภาษาบาลีกันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าเวลาจะห่างจากสมัยพุทธกาลตั้ง สองพันปีมาแล้ว ประเทศไทยมีพระสงฆ์และประชาชนที่สามารถอ่านและเขียนภาษาบาลีมีจำนวนมากที่ สุดในโลก ไม่ใช่ชาวอินเดียอย่างที่เข้าในกัน
ตำนาน แม้ว่าจะไม่เป็นที่ยอมรับว่า เป็นเอกสารที่อ้างอิงได้ของนักประวัติศาสตร์ที่ยึดแนวตะวันตก แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ตำนานส่วนใหญ่เป็น “มุขปาฐะ” หรือ “Oral Tradition” ที่บรรพบุรุษได้เล่าเรียงต่อกันมา แม้จะมีการแต่งเติมบ้าง ก็เชื่อว่า แก่นของเรื่องยังมีให้เห็นพอที่เราจะใช้สืบสาวเรื่องราวหาหลักฐานทางรูปธรรม มาสนับสนุนได้

ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพงศาวดารเหนือและใบจารลาว/อิสาน ได้อ้างอิงหลักฐานการเกิดพระธาตุและ เจดีย์ต่างๆ ไว้มากมาย

ใน พงศาวดารเหนือ เรื่องราวที่พบมากที่สุดเกี่ยวโยงกับพุทธประวัติ และการเกิดขึ้นของเมืองต่างๆ เช่น โยนกเชียงแสน และการที่พระพุทธองค์ พร้อมกับ พระยาอโศก(คนละองค์กับพระเจ้าอโศกมหาราช) กับพระอานนท์ หรือพระเถระองค์อื่นเสด็จไป ณ ที่ต่างๆ ได้ประทาน พระเกศาให้เจ้าเมือง หรือชาวบ้านเก็บไว้บูชาพร้อมกับพยากรณ์ว่า ที่แห่งนั้นในอนาคต จะเกิดอะไรขั้น มีใครมาครอง แล้วจะเป็นที่ตั้งของพระบรมธาตุเจดีย์ หรือวิหารชื่ออะไร ดังปรากฏ ในตำนานพระเจดีย์แต่ละแห่ง

ส่วนในใบลาน จารของลาว ก็มีการเอ่ยชื่อ เมืองที่ปรากฏในพระไตรปิฏก เช่น เมืองคันธาง เมืองสาเกต(ร้อยเอ็ด) เมืองปาวาย (เมืองโบราณริมแม่น้ำปาว) และกรุงกบิลพัสดุ์
หลังจากตั้งเมืองใหม่ตามคำแนะนำของฤษีกบิลซึ่งเป็น พระชาติหนึ่งของพระพุทธเจ้า ได้มีกษัตริย์ปกครอง ๘๔,๐๐๐ องค์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นนครพิชัยเชตุดรในสมัยพระเวชสันดร หลังจากมีกษัตริย์ปกครอง ๑๖๓,๐๐๐ องค์ก็เปลี่ยนกลับมาเป็นกรุง กบิลพัสดุ์อีก ซี่งก็คือจังหวัดอุดรในปัจจุบัน

ชาวลาวและชาวอิสาน เชื่อกันต่อเนื่องกันมาว่า พวกเขาสืบเชื้อสายมาจากพระเวสสันดร ดังจะเห็นได้จากการฉลองงาน “บุญผะเหวด” ยิ่งใหญ่กว่าทุกภาค

หลักฐาน อีกประการหนึ่งที่ยืนยันว่า พระเวสสันดรและพระนางมัทรีอุบัติขึ้นในอุดร (กรุงกบัลพัสดุ์และกรุงสัญชัย หรือพิชียเชตุดร) และอำเภอด่านซ้าย (กรุงเทวทหะ) ในจังหวัดเลยก็คือพิธีแห่ “ผีตาโขน” จากหนังสือ “กินนรี” ของการบินไทย หน้า ๔๑ เขียนว่า ผีตาโขน …มาจาก “ผีตามคน” ด้วยความเชื่อที่ว่า เมื่อพระเจ้ากรุงสัญชัยกับพระนางผุสดีไปเชิญพระเวสสันดรและพระนางมัทรีกลับ เมือง ขบวนแห่เข้าเมืองมีคนป่าที่เคยปรนนิบัติและเคารพรักพระเวสสันดรร่วมขบวนมา ส่งด้วย ต่อมาก็เพี้ยนเป็น ผีตาขน และ ผีตาโขนในที่สุด..
นอกจากที่กล่าวมาตามหัวข้อต่างๆ แล้ว ก็มีผู้ตั้งข้อสังเกตมากมายเกี่ยวกับ ปรากฏการณ์ในทาง พระพุทธศาสนา อาทิ
หาก พระภิกษุอยู่ในเนปาล ซึ่งอยู่เชิงเขาหิมาลัย อากาศคงหนาวมาก พระภิกษุจะอยู่ได้อย่างไรโดย ครองจีวรบางๆ ไม่กี่ชิ้น และไม่สวมรองเท้า ยิ่งในช่วงสองพันปีมาแล้วคงหนาวเยือกเย็นกว่า ปัจจุบันเป็นอย่างมาก (แค่ ๓๐ ปี กรุงเทพก็มีอากาศเย็นกว่าในปัจจุบัน)

ไม่มีการเอ่ยถึงหิมะ ในความหมายของ Snow ในพระไตรปิฎก แต่ใช้เฉพาะหิมะในความหมายของ ความเห็น หิมพานต์ มาจาก หิมะ (เย็น) + วนต (มี)=มีความเย็น ส่วนใหญ่ เข้าใจว่า เป็นน้ำค้าง ป่าหิมพานต์ คือ ป่าน้ำค้าง เพราะไม่เย็น ก็จะไม่มีน้ำต้าง จึงหมายถึงป่าดงดิบทางเหนือ หรืออิสาน ซึ่งปัจจุบัน ก็ยังมีหมอกเป็นน้ำค้างฝอยเม็ดโตๆ พรั่งรูลงมาให้เห็นกันอยู่ ป่าหิมพานต์จึงหมายถึง ป่าบริเวณภูพาน เขาใหญ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เลย และภาคเหนือ

ฤาษีที่ห่มหนังเสือ ไม่ปรากฏในอินเดีย พบเห็นแต่ในเมืองไทย เพราะอากาศเมืองไทย เอื้อที่จะให้ฤาษี ห่มหนังเสือได้ ในพงศาวดารพระนโรศวร กับ พระเอกาทศรถ เคยยกกองทัพผ่านวัด “ฤษีซุม” (วัดที่มีฤาษีมาก)

หน่วยวัดระยะทาง ในพระไตรปิฎกใช้หน่วยวัด เป็น โยชน์ เส้น งาน วา ศอก คืบ ตรงกับที่ใช้ในดินแดนสุวรรณภูมิโดยเฉพาะในประเทศไทย ส่วนในอินเดียไม่ได้ใช้หน่วยวัดระยะทางตามที่กำหนดไว้ในพระไตรปิฎก

ใน สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา บรรพบุรุษของไทยใช้หน่วยวัดนี้อย่างต่อเนื่อง เช่น ระยะทางที่พระเจ้าปราสาททองเสด็จจากวังหลวงไปยังพระตำหนักพักร้อนซึ่งอยู่ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะอยุธยาโดยทางชลมารค มีระยะทาง ๓๙๐ เส้น (เกือบ ๑๖ กิโลเมตร) จากที่ประทับพักร้อนไปถึงตำหนักท่าเรือฝั่งตะวันออกของคือพระตำหนักเจ้าสนุก ห่างออกไป ๖๖๐ เส้น (ประมาณ ๒๔ กิโลเมตร) ในเขตสระบุรีปัจจุบัน แล้วจึงเสด็จไปประทับที่ตำหนักธารเกษม(ธารทองแดง) ซึ่งอยู่เชิงเขาพระพุทธบาท เป็นต้น

ปวดศีรษะอย่างแรง


348669

เมื่อนานมาแล้ว ตอนนั้นจำได้ ว่ายังไม่หลักในการปฏิบัติเลย ยังเที่ยวทดลองอะไรไปเรื่อยเปื่อย และยังสงสัยว่าที่เราปฏิบัติปัญญามันจะเกิดได้อย่างไร และพ้นทุกข์อย่างไร ช่วงนั้นก็ลองไปเรื่อยเปื่อย จนกระทั่งมันปวดหัวมาก ปวดระหว่างคิ้ว ปวดมาเป็นอาทิตย์ไม่รู้จะทำอย่างไร ขนาดตอนเย็นๆ เพื่อนๆ ชวนออกไปข้างนอกไปด้วยไม่ได้ ต้องกลับมานอน

พอกลับมานึกขึ้นได้ เข้าไปในห้องพระแล้วอธิษฐานบอกพระพุทธเจ้า ขอบารมีพระองค์ช่วยด้วย มันทรมานเหลือเกิน พอกราบพระเสร็จมานอนไปที่โซฟาแล้วเผลอหลับไป พอหลับไปสักพักฝันเห็นพระองค์หนึ่ง ไม่ทราบว่าเป็นใคร ท่านมีลักษณะท้วม คล้ำ และใส่แว่นตา ในฝันเข้าไปกับเพื่อนสองคน แล้วนั่งอยู่ข้างล่าง ท่านนั่งอยู่บนตั่ง

ระหว่างรอ พระท่านได้คุยกับเพื่อนที่ไปด้วยกัน แต่งงมาก เหมือนคุยกัน แต่ทำไมไม่ได้ยินอะไรเลย พอคุยกันเสร็จท่านหันมาแล้วถามว่าเราชื่ออะไร ก็บอกท่านไป วันเดือนปีเกิดอะไร ก็บอกท่านไปอีก ท่านก็บอกว่ามาเขยิบเข้ามาใกล้ๆ ข้าพเจ้าก็เขยิบไปใกล้ๆ แล้วท่านก็เอาภูกันอันหนึ่งจิ้มไปที่หัว ตรงหน้าผาก ทันทีที่จิ้มก็รู้สึกความเย็นจากภูกันเข้าไปกลางศีรษะเลย เย็นจื้ดมาก แล้วท่านก็เขียนยันต์ คล้ายๆ รูปด้านบนที่ทำไว้ ทำเป็นฐานแล้วขึ้นไปเป็นสามเหลี่ยม แต่ท่านไม่ได้ยกภูกันเลยนะ เสร็จแล้วท่านก็บอกว่า เรียบร้อย

แล้วก็ตื่นขึ้นมาเลย พอตื่นขึ้นมาแปลกใจมาก อาการปวดศีรษะ ปวดระหว่างคิ้วหายเป็นปลิดทิ้ง แล้วยันต์นี้ก็จำได้ขึ้นใจ (แต่วาดมาไม่ค่อยเหมือน)

ไม่รู้เหมือนกันว่าท่านคือท่านใด แต่ขอกราบขอบพระคุณมาณ โอกาสนี้ด้วย

พระพุทธเจ้าเสด็จมา


2777-พระพุทธเจ้า-lrg-92-buddha_4-jpg

เมื่อเป็นระยะเวลานานพอสมควร น่าจะสักประมาณปี 48 วันนั้นข้าพเจ้ารู้สึกมีอาการเบื่อมาก เรียกว่าเบื่อจนหาคำบรรยายไม่ถูกทีเดียวแหล่ะ จะหาอะไรที่ชอบทำมันก็เบื่อ ขนาดว่านอนมันยังเบื่อ คือ เหมือนกับมันคือ end of the world อย่างไงอย่างนั้น ตอนนั้นก็ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไรดี ก็เลยคิดว่าลองนอนๆ ให้มันหลับเผื่อมันจะหายบ้าง (ความรู้สึกเบื่อที่รุนแรงมากๆ) ขนาดจะล้มตัวลงนอนมันยังเบื่อ พอล้มหัวนอนได้สักพักที่เก้าอี้โซฟา ข้างๆ พอเคลิ้มๆ ไปยังไม่หลับเสียทีเดียว สักพักเห็นพระรูปหนึ่งเดินมาหาที่ตรงที่นอนอยู่ แต่ตัวคล้ายๆ พระที่พุทธมณฑณ แต่ในใจมันรู้เลยว่า นั่นคือ พระพุทธเจ้า

MINOLTA DIGITAL CAMERA

ท่านเดินมาหา แล้วท่านก็ถามว่า “เจ้าเบื่อนักเหร๋อ ถ้าเบื่อมากไปกับเราไหม เราจะพาเจ้าไปเอง”

ในใจก็กำลังคิดจะตอบท่านว่า ไป แต่ว่ายังไม่ได้พูดอะไรออกไป ท่านก็บอกมาอีกว่า “ถ้าเจ้าไปกับเรา เจ้าจะไม่เห็นหน้าพ่อแม่เจ้าแล้วนะ เอาอย่างไร” เมื่อข้าพเจ้าได้ยินแบบนั้นข้าพเจ้าบอกท่านไปว่า “งั้นไม่เอาดีกว่าค่ะ”  หลังจากที่ข้าพเจ้าตอบไป ท่านก็หันหน้ากลับเดินลับหายไปเลย

ในใจรู้สึกดีมาก นี่เราได้พบพระพุทธเจ้าจริงๆ เหร๋อเนียะ…. พระพักตร์ท่านเหมือนคนไทยนี่แหล่ะ แต่ไม่ค่อยกล้าดูหน้าท่านชัดๆ แค่นี้ก็ดีใจสุดขีดแล้ว

สาธุ

MINOLTA DIGITAL CAMERA

พระมหากัสสปะ


พระมหากัสสปะ
จิตรกรรมภาพพระมหากัสสปะ ในถ้ำคีซิล (อายุราวศตวรรษที่ 6)

จิตรกรรมภาพพระมหากัสสปะ ในถ้ำคีซิล (อายุราวศตวรรษที่ 6)
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อเดิม ปิปผลิ
สถานที่ประสูติ มหาติตถะ เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ
สถานที่บวช ต้นไทรพหุปุตตนิโครธ ระหว่างเมืองราชคฤห์ กับนาลันทา
วิธีบวช โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา
เอตทัคคะ ผู้มีธุดงค์มาก
อาจารย์ พระโคตมพุทธเจ้า
สถานที่นิพพาน ภุเขากุกกุฏสัมปาต
ฐานะเดิม
นามบิดา กปิลพราหมณ์
นามมารดา สุมนเทวีพราหมณี
วรรณะเดิม พราหมณ์
การศึกษา จบพระเวท
สถานที่รำลึก
สถานที่ ประตูถ้ำสัตตบรรณคูหาข้างภูเขาเวภาระ กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ สถานที่ทำสังคายนาครั้งแรก

พระมหากัสสปะ เป็นพระอรหันต์สาวกองค์หนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า เป็นเอตทัคคะที่ทรงยกย่องและให้ถือเป็นแบบอย่างในด้านผู้มีธุดงค์มาก ภายหลังที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน ท่านได้เป็นประธานในการสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธ

ประวัติ

พระมหากัสสปะ มีพระนามเดิมว่า ปิปผลิ เป็นบุตรของกปิลพราหมณ์และสุมนเทวีพราหมณี เกิดที่เมืองราชคฤห์ ตอนวัยเด็ก ขณะที่ปิปผลิกุมารได้วิ่งเล่นออกจากพระราชวังนั้น ได้เห็นภิกษุรูปหนึ่งกำลังทำสมาธิ จึงเกิดความเลื่อมใส คิดอยากจะออกบวชในวัยหนุ่ม เมื่ออายุเข้าย่างสู่ 20 ปี ได้แต่งงานกับพราหมณีนามว่าภัททกาปิลานี อาศัยอยู่ในเมืองสาคละ แคว้นมัททะ ซึ่งมีพราหมณ์คนหนึ่งตามมาขอ และทั้งก็ได้แต่งงานกันอย่างสมเกียรติ และหลังจากแต่งงาน ภัททกาปิลานีก็ได้มาอยู่ที่บ้านของปิปผลิภาณพ เมื่อมารดาบิดาของทั้งสองฝ่ายถึงแก่กรรม ทั้งสองจึงได้ออกบวชในศาสนาพุทธ ระหว่างเมืองราชคฤห์กับนาลันทา (บ้านเกิดพระสารีบุตร)

การทำสังคายนา

ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำสังคายนาครั้งแรก

พระมหากัสสปเถระได้ทราบข่าวการปรินิพพานของ พระพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ปรินิพพานแล้วได้ 7 วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางอยู่ ณ เมืองปาวาพร้อมด้วยหมู่ศิษย์จำนวนมาก เมื่อได้ทราบข่าวนั้น เหล่าศิษย์ของพระมหากัสสปะซึ่งยังเป็นปุถุชนอยู่ ได้ร้องไห้คร่ำครวญกัน ณ ที่นั้น จึงมีพระภิกษุบวชเมื่อแก่องค์หนึ่ง ชื่อว่าสุภัททะ ได้กล่าวขึ้นว่า “หยุดเถิด หยุดเถิด ท่านอย่าร่ำไรไปเลย พระสมณะนั้นพ้น (ปรินิพพาน) แล้ว เราจะทำอะไรก็ได้ตามพอใจ ไม่ต้องเกรงบัญชาใคร” พระมหากัสสปะได้ฟังเช่นนั้น คิดจะทำนิคคหกรรม (ทำโทษ) แต่เห็นว่ายังมิควรก่อน และดำริขึ้นว่าพระพุทธเจ้าปรินิพพานเพียง 7 วัน ก็มีผู้คิดที่จะทำให้เกิดความแปรปรวน หรือประพฤติปฏิบัติให้วิปริตไปจากพระธรรมวินัยเช่นนี้ จึงควรจะทำสังคายนาและจะชักชวนพระอรหันต์เถระ ทั้งหลาย ซึ่งล้วนทันเห็นพระพุทธเจ้า ได้ฟังคำสอนของพระองค์มาโดยตรง เป็นผู้รู้คำสอนของพระพุทธเจ้า และได้อยู่ในหมู่สาวกที่เคยสนทนาตรวจสอบกันอยู่เสมอ รู้ว่าสิ่งใดที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ให้มาประชุมกัน เพื่อช่วยกันแสดง ถ่ายทอด รวบรวม ประมวลคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า แล้วตกลงวางมติไว้ จากนั้นท่านจึงเดินทางไปยังเมืองกุสินาราเพื่อเป็นประธานในการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ใช้เวลา 7 เดือน พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นผู้อุปถัมภ์

การสังคายนาครั้งที่หนึ่งในศาสนาพุทธจึงได้จัดขึ้นที่ถ้ำสัตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ ตามคำปรารภของพระมหากัสสปะเถระ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูเป็น องค์อุปถัมภ์ ใช้เวลาในการสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยอยู่ 7 เดือนจึงแล้วเสร็จ โดยในครั้งนั้น พระมหากัสสปะเถระเป็นประธานทำสังคายนา พระอานนท์เป็นองค์วิสัชชนาแสดงพระธรรม พระอุบาลีเป็นองค์วิสัชชนาพระวินัยปิฎก การสังคายนาครั้งนั้นนับเป็นต้นกำเนิดของพระไตรปิฎกภาษาบาลีที่ใช้ในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%AA%E0%B8%9B%E0%B8%B0

ภูเขาเวภาระ


เว
ธา.

กรอด้าย; ให้เหี่ยวแห้งไป; สรรเสริญ; สำรวม

ภาระ

1.(มค. ภาร) น. ของหนัก, น้ำหนัก
ธุระที่หนัก, การงาน. ว. หนัก (เหมือน ภาร).

2.(สก. ภาร) น. ชื่อมาตราชั่งน้ำหนักมคธ ๒๐ ตุลา เป็น ๑ ภาระ.

http://dictionary.sanook.com/search/dict-th-th-pleang/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0

ภาษาบาลี


ภาษาบาลี(Paliจากศัพท์ภาษาเดิมว่า pāli)เป็นภาษาของอินเดียฝ่ายเหนือในราวสมัย500-600ปีก่อนคริสต์กาล อยู่ในตระกูลอินโดยุโรเปียน(Indo-European) และอยู่ในกลุ่มอินโดอารยันหรืออินดิก เช่นเดียวกับภาษาสันสกฤต นักปราชญ์ทางภาษาส่วนใหญ่จัดเข้าในกลุ่มอินโดอารยันหรืออินดิกสมัยกลาง(Middle Indo-AryanหรือMiddle Indic)แต่ผู้ที่ค้านว่าไม่ใช่ และ เป็นภาษาสมัยใหม่กว่านั้นก็มี เป็นภาษาปรากฤต(ภาษาถิ่นในอินเดียสมัยนั้น)ภาษาหนึ่ง ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถชี้ขาดลงไปได้ว่า เป็นภาษาของถิ่นใดกันแน่ และมีต้นกำเนิดมาจากภาษาอะไร อย่างไร แต่ส่วนใหญ่ลงมติกันว่า เป็นภาษาอินดิกสมัยกลาง รุ่นเก่ากว่าภาษาปรากฤตอื่นๆ โดยดูจากรูปภาษา ภาษาบาลีใช้กันแพร่กลายในฐานะภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์พุทธศาสนาฝ่ายหีนยาน(Hīnayāna)หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เถรวาท(Theravāda)

คำว่า pāliโดยปกติแปลความหมายว่า แถว แนว ขอบเขต เป็นต้น

ผู้ที่นับถือพุทธศาสนาส่วนใหญ่เชื่อว่า บาลีคือภาษาของชาวมคธ ซึ่งมีถิ่นที่อยู่ทางใต้ของแคว้นพิหารปัจจุบัน เพราะพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธนานกว่าที่อื่น คงจะทรงใช้ภาษามคธในการเผยแพร่พุทธศาสนา ความเชื่อนี้แพร่หลายมากโดยเฉพาะในเมืองไทยสมัยก่อน จะเห็นได้จากพจนานุกรมหรือปทานุกรมรุ่นเก่าที่มักย่อชื่อภาษาบาลีว่า ม. อันหมายถึงมคธ คำว่าภาษามคธนี้ เป็นชื่อที่เรียกกันในเมืองไทยเท่านั้น ศัพท์เฉพาะที่เป็นชื่อภาษาของชาวมคธคือคำว่า มาคธี (Māgadhī)

แต่ก็มีนักปราชญ์ที่สำคัญสองคนคือ บุร์นุฟ (Burnouf) และลาสเสน (Lassen) ให้เหตุผลแย้งว่า ลักษณะของภาษามาคธีต่างกับบาลีหลายประการ จึงไม่น่าจะเป็นภาษาเดียวกัน เช่น

            1.       ภาษามาคธีใช้เสียง ś (ตาลุชะ) ในที่ที่ภาษาบาลีใช้เสียง s (ทันตชะ) ทั้งนี้เพราะภาษามาคธีมีเสียงอุสุมเสียงเดียว คือเสียงอุสุมชนิดตาลุชะ (palatal ś) ไม่ใช่เสียงอุสุมชนิดทันตชะ (dental s) เหมือนบาลี
            2.       เสียง r ที่บาลีมี มาคธีไม่มี ใช้เสียง l แทน
            3. เสียงท้ายคำนาม a-การันต์ วิภัตติ์ที่ 1 เอกพจน์ ที่บาลีเป็น o มาคธีเป็น e
            4.       เสียง y ระหว่างสระ (intervocalic ya) ของภาษามาคธีบางครั้งก็หายไป บางครั้งก็เปลี่ยนเป็นเสียง j ไม่คงเดิมตลอดเหมือนบาลี

เหตุผลดังกล่าวมีผู้แย้งตอบว่า เหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะพระพุทธเจ้าเป็นชาวแคว้นโกศล มิใช่แคว้นมคธ สำเนียงพูดย่อมเพี้ยนจากคนท้องถิ่นนั้นไปบ้างไม่มากก็น้อย เรียกว่าเป็นการพูดภาษามคธแบบชาวโกศล อีกประการหนึ่ง พระองค์ได้ตรัสว่าไม่ควรยึดมั่นในภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง เมื่อเสด็จไปสอนที่ใดก็คงจะทรงใช้ภาษาถิ่นนั้น ภาษาจึงอาจเกิดการปะปนกัน ประกอบกับการใช้ศัพท์เฉพาะที่แปลกออกไป  ภาษามาคธีที่พระพุทธเจ้าตรัส จึงไม่ควรจะเหมือนภาษามาคธีบริสุทธิ์ที่ชาวมคธใช้พูดกัน เพราะได้รับอิทธิพลมาจากภาษาอื่น

เหตุผลอีกข้อหนึ่งก็คือ เรารู้จักลักษณะภาษามาคธีอย่างที่เป็นอยู่นี้ จากบทละครสันสกฤตซึ่งเขียนขึ้นหลังสมัยพุทธกาลเป็นเวลานาน ไม่มีใครรู้ว่าในสมัยพุทธกาลภาษามาคธีมีลักษณะอย่างไร อาจคล้ายคลึงกับภาษาบาลีมากก็ได้ แล้วจึงได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระยะหลัง ภาษาบาลีเองก็เป็นภาษาที่ถ่ายทอดกันมาโดยมุขปาฐะ (Oral Tradition) กว่าจะได้จารึกเป็นหลักฐานก็เป็นภาษาตาย ไม่มีใครใช้พูดกันแล้ว ในขณะที่ภาษามาคธีซึ่งยังไม่ตายได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปไปเรื่อยๆ จนแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นภาษาเดียวกัน

นักปราชญ์ทางภาษาบางคน เช่น เวสเตอร์การ์ด (Westergard) คูห์น (E. Kuhn) และฟรังเก (R.O. Franke) อ้างหลักฐานจากศิลาจารึก ของพระเจ้าอโศกว่า พระมหินทรเถระโอรสพระเจ้าอโศก ผู้เดินทางไปเผยแพร่พุทธศาสนายังลังกาทวีป ได้ใช้ภาษาของพระองค์ซึ่งมีลักษณะคล้ายภาษาบาลี เมื่อลังการับคำสอนทางพุทธศาสนาจึงรับภาษานั้นมาใช้ด้วย และภาษานี้เองที่ได้วิวัฒนาการมาเป็นภาษาบาลีที่เรารู้จักกัน นักปราชญ์กลุ่มนี้สันนิษฐานว่า ต้นกำเนิดของภาษาบาลี น่าจะอยู่บริเวณตั้งแต่ใจกลางของประเทศอินเดียจนจดเทือกเขาหิมาลัยตะวันตก ใกล้เคียงกับบริเวณกรุงอุชเชนี เพราะพระมหินทรเถระเป็นชาวอุชเชนี   แต่ข้อเสนอดังกล่าว โอลเดนแบร์ก (Oldenberg) ไม่เห็นด้วย ทั้งข้อที่ว่า พระมหินทรเถระเป็นชาวอุชเชนี และข้อที่ว่าได้เสด็จไปสืบศาสนาที่ลังกา

ผู้รู้บางกลุ่มไม่บอกประวัติของภาษาว่ามีกำเนิดแต่ไหน เพียงแต่แปลคำว่า pāliว่ามาจาก pāla แปลว่า คุ้มครอง รักษา หมายถึง เป็นภาษาที่คุ้มครองรักษาพุทธศาสนาไว้ให้ยืนยงต่อมาตราบเท่าทุกวันนี้

บางคนก็เชื่อว่า ภาษาบาลีอาจเป็นภาษาที่พระพุทธองค์ทรงประดิษฐ์ขึ้น (Artificial Language) เพื่อใช้เป็นภาษากลางในการเผยแพร่พุทธศาสนา เพราะไม่ต้องการเลือกที่รักมักที่ชังด้วยการใช้ภาษาถิ่นใดถิ่นหนึ่ง แต่ได้ดัดแปลงให้ออกเสียงง่ายและสะดวกกว่าสันสกฤต รูปคำหลายรูปคลายความซับซ้อนลง และไม่เหมือนภาษาถิ่นใด อาจเป็นการรวมและหลอมออกมาใหม่แล้วตั้งชื่อใหม่ก็เป็นได้

ข้อที่ควรสังเกตก็คือ ภาษาบาลีเดิมไม่ได้ชื่อนี้   ไม่มีใครทราบว่าชื่ออะไร คำว่า pāliเดิมเป็นคำที่ใช้เรียกคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่ชื่อภาษา เช่นในสำนวนว่า �ในพระบาลี� ซึ่งหมายถึงพระไตรปิฎก ภาษานี้ได้ชื่อว่า Pali หรือบาลี เพราะใช้ถ่ายทอดพระไตรปิฎก เช่นเดียวกับภาษาพระเวท ซึ่งไม่มีใครทราบว่าชื่ออะไร เรียกกันทั่วไปว่าภาษาพระเวท เพราะใช้บันทึกคัมภีร์พระเวท

ภาษาบาลีไม่มีตัวอักษรของตนเอง เรียกว่าเป็นภาษาพูดที่ถ่ายทอดกันมาโดยการท่องจำ ใช้ในถิ่นใดก็ใช้อักษรของถิ่นนั้นถ่ายเสียง เช่น ไทยก็ใช้อักษรไทย ลาวใช้อักษรธรรม เขมรใช้อักษรขอม (ส่วนใหญ่เป็นขอมบรรจง) ในซีกโลกตะวันตกใช้อักษรโรมัน ถ้าอักษรภาษาใดถ่ายเสียงได้ไม่ครบเสียงก็จะเปลี่ยนไป แต่ในปัจจุบันอักษรโรมันเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในการศึกษาภาษาบาลี เช่นเดียวกับภาษาสันสกฤต ในบทเรียนนี้จึงใช้อักษรโรมันถ่ายเสียงภาษาบาลี เพื่อให้สอดคล้องกับภาษาสันสกฤต ตามเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น อีกทั้งเพื่อให้สะดวกในการเปรียบเทียบเสียงระหว่างภาษา ตามหลักภาษาศาสตร์ด้วย และเมื่อถ่ายเสียงด้วยอักษรโรมัน ก็จะใช้ชื่อย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า P

ที่มา https://wordpress.com/post/16282903/new/

ภาษามคธ : ภาษาบาลี : ภาษาพระพุทธเจ้า “ภาษามคธเป็นภาษาที่ไม่เสื่อมไปจากโลก”


ภาษามคธเป็นภาษาที่ไม่เสื่อม

ภาษามคธนับว่าเป็นภาษาที่สูงกว่าภาษาทั้งหลาย เพราะสมบูรณ์ด้วยคุณวิเศษ และ สภาวนิรุตติ คำว่า สภาวนิรุตตินั้น หมายถึงภาษาที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความหมายและอธิบาย มีอำนาจในการแสดงอรรถและอธิบายได้แน่นอน เป็นภาษาที่ผู้วิเศษทั้งหลาย มี พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงใช้อยู่ กล่าวอีกนัยหนึ่ง สภาวนิรุตติ หมายถึงภาษาที่ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง ไม่เสื่อม ตั้งอยู่โดยปกติ

ส่วนภาษาอื่นๆ เมื่อถึงกาลหนึ่ง ย่อมเปลี่ยนแปลง และเสื่อมได้ สำหรับภาษามคธ แล้ว จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง และเสื่อมเลย ไม่ว่าจะเป็นที่ไหนๆ ในกาลไหนๆ หากจะมีการ เปลี่ยนแปลง หรือเสื่อมสลายก็เป็นเพราะผู้ศึกษา ผู้แสดง ผู้สอน เรียนผิด แสดงผิด และสอนผิด แม้ถึงกระนั้น ก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงโดยตลอดกาล เพราะท่านกล่าวไว้ ในสัมโมหวิโนทนี ว่า สถานที่พูดภาษามคธมากที่สุดคือ นรก ดิรัจฉาน เปรต โลกมนุษย์ สวรรค์ และพรหมโลก กล่าวอธิบายว่า เมื่อโลกแตกสลาย พรหมโลกมิได้เข้าข่ายการแตก สลายด้วย ฉะนั้น พรหมโลกจึงตั้งอยู่ได้สภาพเดิม

——————————

๑. ธมฺมนิรุตฺตาภิลาเปติ เอตฺถ ธมฺมสทฺโท สภาววาจโกติ กตฺวา อาห “ยา สภาวนิรุตฺตีติ อวิปริตนิรุตฺตีติ อติโถ. (มูลฏี. ๒/๑๙๑). อวิปริตนิรุตฺตีติ พุทฺธาทีหิ อาจิณฺณา ตสฺส อตฺถสฺส วจกภาเว นิรุฬฺหา ยาถาวนิรุตฺติ (อนุฏี. ๒/๑๙๒)

๒. เสสา…อฏฺฐารส ภาสา ปริวตฺตนฺติ. อยเมเวกา ยถาภุจฺจพฺรหฺมโวหารอริยโวหาร สงฺขาตา มาคธภาสา น ปริวตฺตนฺติ. (อภิ.อฏฺ. ๒/๓๗๑-๒) เสสา ปริวตฺตนฺติ เอกนฺเตน กาลนฺตเร อญฺญถา โหนฺติ วินสฺสนฺติ จ. มาคธา ปน กตฺถจิ กทาจิ ปริวตฺตนฺตีปิ น สพฺพตฺถ สพฺพทา จ ปริวตฺตติ. กปฺปวินาเสปิ ติฏฺฐติเยว (มูลฏี. ๒/๑๙๒) มนุสฺสานํ ทุรคฺคหณาทินา กตฺถจิ กทาจิ ปริวตฺตนฺตีปิ พฺรหฺมโลกาทีสุ ยถาสภาเวเนว อวฏฺฐานโต น สพฺพตฺถ สพฺพทา จ ปริวตฺตติ. (อนุฏี. ๒/๑๙๔)

๓ เล่มเดียวกัน. หน้า ๓๗๑

๔. ที่ว่ามนุษย์โลกพูดภาษามคธมากที่สุดนั้น สันนิษฐานว่า น่าจะกล่าวถึง เทสิยมาคธี ภาษา (ฮินดีภาษา) มากกว่า คำว่า มนุษย์โลกในที่นี้ จะต้องกล่าวหมายถึง ชมพูทวีป ที่เรียก ว่าประเทศอินเดียในปัจจุบัน จึงจะสมจริง (คำนำโมคคัลลานนิสสยะ)

ที่มา https://www.gotoknow.org/posts/437507

——————————————————–

เว็บไซต์เพื่อการเรียนรู้ภาษาบาลีและพระพุทธศาสนา
http://www.palisikkha.org/

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/437507

ที่ตั้งของกรุงราชคฤห์


ราชคฤห์

                                                                     *****

ที่ตั้งกรุงราชคฤห์

กรุงราชคฤห์ ในสมัยพุทธกาล เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ ตั้ง อยู่ทางทิศบูรพาแห่งชมพูทวีป เป็นแหล่งรุ่งเรืองด้วยอำนาจ และการค้าขาย พระพุทธองค์ได้เสด็จแวะเวียนมาประทับ ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร ๖ พรรษา มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาอยู่มาก

ปัจจุบันเป็นตำบลหนึ่งของจังหวัดนาลันทา อยู่ห่างจากพิหารชะรีฟ (Bihar Sharif) ซึ่งเป็นที่ตั้งจังหวัดนาลันทา ๒๖ กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองนาลันทา ๑๒ กิโลเมตร ห่างจากพุทธคยา ๘๗ กิโลเมตร อยู่ห่างจากเมืองปัตนะ ๑๐๓ กิโลเมตร กรุงราชคฤห์เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร, คิริบรรพชนคร, หรือภัททิยนคร เป็นเมืองที่มีแนวสันกำแพงเป็นเทือกเขา ๕ ลูกล้อมรอบ คือ ภูเขาเวภาระ, เวปุลละ, ปัณฑวะ, คิชฌกูฎ, อิสิคิลิ ปัจจุบันเรียกว่า ราชคีร์ (Rajgir)

แต่ในปัจจุบัน ภูเขา ๕ ลูก ซึ่งบางลูกได้ถูกเปลี่ยนไปเช่น ภูเขาอิสิคิลิ เปลี่ยนเป็น ภูเขาโสนา ภูเขาปัณฑวะ เปลี่ยน เป็น ภูเขาอุทัย และภูเขาคิชฌกูฏ กลายเป็นภูเขา ๓ ยอด คือ ยอดที่หนึ่ง ภูเขารัตนคีรี ยอดที่สอง ภูเขาฉัฏฐา และยอดที่สาม ภูเขาเศละ

ปัจจุบันประชาชนทั่วไปเขาเรียกภูเขา ๕ ลูก เป็นภูเขา ๗ ลูก หรือ สัตตคีรีนคร คือพระนครที่มีภูเขา ๗ ยอดแวดล้อม คือ เวภาระ วิปุละ รัตนะ ฉัฏฐา เศละ อุทัย และโสนา

ใน สมัยพุทธกาลมีการปกครองโดยพระเจ้าพิมพิสาร ช่วงท้ายพุทธกาลคือ พระเจ้าอชาติศัตรู เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสาร และเป็นเมืองที่มีความสำคัญหลาย ๆ ด้าน คือ

ด้านการเมืองการปกครอง

พระเจ้าพิมพิสาร ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์มั่งคั่ง และ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดแบบบ้านพี่เมืองน้องกับเมืองสาวัตถี คือพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ ต่างก็ทรงอภิเษกสมรสกับกนิษฐภคินีของกันและกัน ทั้งพระเจ้าแผ่นดินและประชาชนต่างก็เคารพในกฎหมาย ใครจะละเมิดกฎหมายมิได้ เช่น พอเวลาพลับค่ำ จะต้องปิดประตูเมืองห้ามคนเข้าออกเด็ดขาด แม้แต่พระเจ้าพิมพิสารเองก็ดี หมอชีวกก็ดี พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดี ยังเคยนอนนอกวังหรือนอกเมืองมาแล้วเพราะมาไม่ทันเวลาประตูเมืองปิดเสียก่อน

กรุงราชคฤห์มีประตูเมืองขนาดใหญ่ ๆ ๓๒ ประตู มีประตูขนาดเล็ก ๆ อีก ๖๔ ประตู มีประชากรหนาแน่น ประมาณ ๑๘ โกฏิ

          นอกนั้นราชคฤห์ ยังเป็นเมืองหลวงของ ๒ แคว้น คือ แคว้นอังคะ และแคว้นมคธ มีพระเจ้าแผนดินองค์เดียวกัน

ด้านศาสนา

กรุงราชคฤห์ เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ กรุงราชคฤห์ ที่วัดเวฬุวันแห่งนี้ ได้เป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พระองค์ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่ถึง ๑,๒๕๐ รูป (สถานที่เกิดแห่งวัน มาฆบูชา) และบริเวณที่พระเจ้าพิมพิสารพบพระโพธิสัตว์ก่อนเข้าเมืองราชคฤห์

ทรงประกาศคำสอนและคุณสมบัติของพระภิกษุผู้ที่จะไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา แล้วค่อยแผ่ไปยังแคว้นต่าง ๆ ต่อไปจนทั่วทั้ง ๑๖ แคว้น ในสมัยนั้น ทำให้ผู้คนมีความนับถือเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และเข้ามาบรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุ – ภิกษุณีมากมายสืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้

นอกจากนั้นราชคฤห์ยังเป็นที่ชุมนุมของเจ้าลัทธิมากมาย มีคณาจารย์ใหญ่ ๒ ท่านคือท่าน อาฬารดาบส และอุทกดาบส และมีลัทธิครูทั้ง ๖ เช่น ปูรณะกัสสปะ มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร และนิครนถ์นาฏบุตรหรือศาสดามหาวีระ ซึ่งแต่ละท่านมีประชาชนได้ให้ความเคารพนักถือเป็นจำนวนมาก

ด้านเศรษฐกิจ

กรุงราชคฤห์ เป็นเมืองที่เป็นศูนย์กลางติดต่อทำการค้าขายกับแคว้นต่าง ๆ ในขณะนั้น ดังมีรอยเกวียนปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีก็เคยมาทำการค้าขายที่เมืองนี้ จนพบพระพุทธเจ้า และกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์เสด็จไปโปรดประชาชนชาวเมืองสาวัตถีด้วย เป็นต้น

สมัยพุทธกาลในพระนครแห่งนี้เคยมีมหาเศรษฐี ๕ ท่าน คือ ราชคหเศรษฐี ปุณณเศรษฐี โชติกเศรษฐี เมณฑกเศรษฐี ธนัญชัยเศรษฐี

                                               

ด้านการทหาร

กรุงราชคฤห์ เป็นภูมิประเทศที่มีภูเขา ๕ ลูกล้อมรอบเป็นกำแพง เมืองให้อย่างดี ยากแก่การที่ข้าศึกจะมาโจมตีได้ ปัจจุบันยังมีกำแพงเมือง ปรากฏอยู่บนยอดเขาตรงทางเข้าเมืองราชคฤห์ ทั้งทางด้านทิศเหนือและทิศใต้

พุทธสถานและสถานที่สำคัญ

  • ธัมมิกราชสถูป

เป็น สถานที่ที่พระเจ้าพิมพิสารเสด็จมาพบพระบรมโพธิสัตว์ครั้งแรก ที่พระองค์ได้เสด็จออกบรรพชา แล้วเดินทางพักแรมอยู่อนุปิยอัมพวัน แขวงมัลลชนบท จากนั้นเสด็จมายังกรุงราชคฤห์และทรงรับบิณฑบาตมีประชาชนได้พบเห็นจนได้ทราบ ถึงพระเจ้าพิมพิสารแล้วเสด็จมาพบพระองค์ ปัจจุบันเห็นสถูปปากทางเข้ากรุงราชคฤห์ ที่ทางการได้ค้นพบ ก่อนถึงรอยทางเกวียน

๒. วัดเวฬุวันมหาวิหาร (สวนเวฬุวัน)

เวฬุวนาราม วัดป่าไผ่ล้อม หรือวัดไผ่ล้อม เป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ตั้งอยู่ใกล้เชิงเขา เว ภารบรรพต ด้านใต้จรดตโปธาราม วัดธารน้ำร้อน ซึ่งมีแม่น้ำสรัสสวดีไหลผ่าน ซี่งพระเจ้าพิมพิสารเมื่อได้สดับพระธรรมเทศนาแล้ว ทรงเลื่อมใสพร้อมแสดงตนเป็นพุทธมามกะ จากนั้นได้อาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายเข้าไปยังพระราช นิเวศน์ แล้วทรงถวายสวนเวฬุวันให้เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในพระพุทธศาสนา และเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสกับท่านพระอานนท์ว่าเป็นสถานที่น่าอยู่น่ารื่นรมย์

พระ พุทธองค์ทรงประทับจำพรรษาถึง ๖ พรรษาและพระพุทธองค์ได้อัครสาวกทั้ง ๒ คือ พระมหาโมคคัลลานะ กับพระสารีบุตร ที่เป็นกำลังสำคัญยิ่งในการเผยแผ่พระศาสนา และสถานที่แห่งนี้เป็นที่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ องค์ มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกษุอุปสัมปทา และเป็นวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา เรียกอีกอย่างว่า วันจาตุรงคสันนิบาต ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลาย คือไม่ให้ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้ผ่องใส

ปัจจุบัน ยังมีซากมูลคัณธกุฎีที่ประทับของพระบรมศาสดา ซึ่งอยู่ทางด้านใต้สุดของตัววัด และมีสระใหญ่ชื่อว่า กลันทกนิวาปะ สระที่ให้เหยื่อกระแตตั้งอยู่ตรงกลางทางด้านเหนือของมูลคันธกุฎี

๓. ศาลาไทยในสวนเวฬุวัน

เป็นศาลาทรงไทย ตั้งอยู่ในสวนเวฬุวัน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ สร้างขึ้นในสมัยที่พระธรรมราชานุวัตร (บุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ ป.ธ.๘) อดีตเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยาสมัยนั้น ตำแหน่งสมณศักดิ์ก่อนมรณภาพคือ พระสุเมธาธิบดี อดีตอธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สร้างไว้เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชา ณ วัดเวฬุวันมหาวิหาร โดย ฯพณฯ เอกอัครทูตเป็นผู้มอบให้รัฐบาลอินเดีย และเป็นสถานที่ทำสังฆกรรม และพิธีกรรมต่าง ๆ ของผู้ที่มาแสวงบุญตลอดมา โดย การประสานงานของนักศึกษาไทยสมัยนั้น คือพระมหานคร เขมปาลี (สมณะศักดิ์ครั้งสุดท้าย พระราชรัตนโมลี มรณภาพ ๒๙ พ.ค. ๕๑) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ คณะ ๓ และอดีตเลขาธิการ อธิการบดี ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี อุปนายก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และพระภิกษุวิเวกานันทะ (พระสหัส ปริสุทฺโธ/นาคะสิริ) หรือ พระ ดร.วิเวกานันทะ (ปัจจุบันมรณภาพแล้วที่อเมริกา ๒๖ ตุลาคม ๔๘)

๔. ตโปธาราม

ตโปธาราม วัดธารน้ำร้อน อยู่ติดกับสวนเวฬุวัน ตโปธาราม มี บ่อน้ำร้อนอยู่เชิงเขาเวภาระบรรพตด้านตะวันออกโดยมีแม่น้ำสรัสสวดีสายเล็กๆ ขึ้นอยู่ เป็นวัดที่น่ารื่นรมย์ และที่นี่เป็นที่บัญญัติให้พระภิกษุสรงน้ำได้ ๑๕ วันต่อครั้ง สมัยพุทธกาลทั้งพระสงฆ์และพระเจ้าพิมพิสาร ก็ใช้ที่แห่งนี้ในการอาบน้ำปัจจุบัน เป็นที่บำเพ็ญบุญของชาวฮินดู ข้างในจะมีขั้นอาบน้ำ ตามฐานะแห่งวรรณะของตน ทุกวันจะมีชาวอินเดียมาอาบน้ำอย่างมากมาย เพราะเขาเชื่อกันว่าสามารถรักษาโรคภัยให้ทุเลาหายได้

ปัจจุบัน บริเวณนี้ มีวัดพระศิวะสร้างเต็มไปหมดตั้งอยู่ตรงกลาง ส่วนด้านรอบข้าง ทำเป็นท่อและบ่อน้ำร้อนจัดไว้บริการสำหรับผู้ประสงค์จะอาบน้ำและดื่ม

๕. กัสสปารามหรือถ้ำปิปผลิคูหา

วัด กัสสปาราม หรือถ้ำปิปผลิคูหา ที่ได้ชื่ออย่างนั้นเพราะท่านกัสสปะเศรษฐีได้สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ตั้งอยู่ที่เชิงเขาด้านเหนือของภูเขาเวภารบรรพต ที่พระมหากัสสปะเถระเคยพำนักอยู่ ท่านเป็นพระสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้วยคุณ แห่งการถือธุดงค์ ๑๓ ข้อตลอดชีวิต เมื่อเรามองขึ้นไปจากวัดนี้ สามารถมองเห็นถ้ำสัตตบรรณได้ และครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ได้เคยเสด็จมาเยี่ยมพระอัสสชิ ซึ่งกำลังอาพาธซึ่งพักรักษาตัวอยู่ที่นี่

๖. สีตะวัน

สี ตะวัน หรือวัดป่าพญาเย็น ตั้งอยู่ในตัวเมืองทางตะวันออกของภูเขาเวภารบรรพตจรดถึงเงื้อมผาสัปปโสณิกะ ขณะที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ สถานที่นี้ ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีมาทำธุรกิจค้าขายพักอยู่ที่บ้านราชคหเศรษฐี เมื่อทราบว่า พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ จึงขออนุญาตท่านราชคหเศรษฐีไปเฝ้าพระพุทธองค์ พร้อมได้ฟังธรรมเทศนาและได้บรรลุโสดาปัตติผล พร้อมกันนั้นได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาไปโปรดชาวเมือง ณ เมืองสาวัตถี

๗. สัตตบรรณคูหา

สัตตบรรณ คูหา วัดถ้ำ ๗ ถ้ำ หรือวัดถ้ำ ๗ ใบ ตั้งอยู่บนหน้าผาด้านทิศเหนือแห่งยอดเขาเวภารบรรพต เป็นวัดแห่งหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่าเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ หลัง จากพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วได้ ๓ เดือน พระอริยสงฆ์จำนวน ๕๐๐ องค์ ซึ่งมีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ได้คัดเลือกและได้เลือกทำสังคายนาพระธรรมวินัย ณ สัตตบรรณคูหานี้ เป็นเวลา ๗ เดือนจึงเสร็จ โดยมีพระเจ้าอชาตศัตรูรับเป็นผู้อุปถัมภ์

ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ทำให้ถ้ำ ๓ ถ้ำจึงพังทลาย เหลือเพียง ๔ ถ้ำ และเมื่อปีฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ทางรัฐบาลอินเดีย ซึ่งมี ฯพณฯ เยาวหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้จัดการทำถนนอย่างดี ตั้งแต่วัดตโปธาราม ผ่านถ้ำปิปผลิ จนถึงถ้ำ ๔ ถ้ำ

๘. สัปปโสณฑิกปัพภาร

สัปปโณฑิกปัพภาร วัดเงื้อมผาพญางูแผ่พังพาน ตั้งยู่ใกล้กับวัดป่าพญาเย็นด้านใต้ ณ เชิงภูเขา     เวภารบรรพต พระพุทธองค์ตรัสกับพระอานนท์ว่าเป็นน่ารื่นรมย์

ภายในเงื้อม ผาแห่งนี้ มีถ้ำอยู่สองถ้ำ ตั้งอยู่ติดกัน ถ้ำลูกด้านเหนือ หลังคาพังทลาย และภายในถ้ำมีรูปแกะสลักพระเชนติดอยู่กับฝาผนังถ้ำ ๔ องค์ ส่วนถ้ำลูกด้านใต้ มีลักษณะที่สมบูรณ์ มีประตูเข้าออก ๑ ประตู และมีช่องหน้าต่างเล็กอยู่ ๑ ช่อง ส่วนภายในเป็นห้องโถงขนาดปานกลาง และมีฝาผนังด้านในถ้ำมีคำจารึกเป็นอักษรโบราณจารึกเป็นปริศนาไว้ใกล้ๆ บานประตู เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลถ้ำอธิบายให้ฟังว่า ถ้าใครอ่านออกและตีปริศนานี้ได้ ประตูด้านในจะเปิดออกโดยอัตโนมัติ และทรัพย์สมบัติต่างๆ มีอยู่ในถ้ำทั้งหมดต้องเป็นของผู้นั้น

๙. โจรปปาตะ หรือเหวทิ้งโจร

โจร ปปาตะ หรือเหวทิ้งโจร ตั้งอยู่ใกล้ยอดเขารัตนคีรี เดิมยอดเขานี้เรียกว่า คิชฌกูฏ ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ กับมัททกุจฉิทายวันและเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสกับท่านพระ อานนท์ว่า เป็นสถานที่น่าอยู่น่ารื่นรมย์ ท่านพระวักกะลิ หลังจากถูกพระพุทธองค์อเปหิออกจากสำนัก เพราะมัวแต่ฝักใฝ่ดูแด่พระรูปพระโฉมของพระพุทธเจ้า ไม่เอาใจใสในการปฏิบัติธรรม ได้หนีมาที่นี่เพื่อจะปลงชีวิตด้วยการกระโดดภูเขาตาย และเป็นที่นางภัททาบุตรีราชคหเศรษฐี ได้ผลักสามีผู้เป็นโจรทรยศที่คิดคดจะฆ่านางให้วอดวายตกลงไปตาย ณ เหวแห่งนี้

ปัจจุบัน มีการสร้างกระเช้าไฟฟ้า มีเก้าอี้นั่งอย่างนี้ ตั้งบริการอยู่ที่เชิงเขา เพื่อไปนมัสการวิศวศานติสถูป เป็นเจดีย์สร้างโดยหลวงพ่อฟูจิ นิกายเชนชาวญี่ปุ่น โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลอินเดีย

๑๐. มัททกุจฉิทายวัน

วัดมัททกุจฉิทายวัน ตั้งอยู่ที่เชิงเขาภูเขาคิชฌกูฏ เป็นสถานที่พระนางเวเทหิ ทรงรัดพระครรภ์ เพื่อหวังทำลายพระครรภ์ด้วยคำทำนายของโหราจารย์ว่าเด็กที่เกิดมาจะทำ ปิตุฆาต คือฆ่าบิดา แต่พระเจ้าพิมพิสารทรงห้ามไว้ เลยสร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระนางเวเทหิ เอกอัครมเหสีที่ทรงให้อภัยในการไม่ทรงทำแท้ง

ระหว่าง ทางที่ขึ้นจนถึงเขาคิชฌกูฎมีอนุสรณ์เจดีย์สถานที่เป็นวัตถุโบราณต่างๆ โดยพระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระเจ้าพิมพิสาร ตามเส้นทางคือ

๑. พระเจดีย์องค์ที่หนึ่ง ตั้งอยู่ถัดขึ้นไปจากวัดมัททกุฉิทายวัน เป็นสถานที่พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จลงจากพระราชพาหนะ ซึ่งมากจากพระราชวังแล้วได้เสด็จขึ้นพระเสลี่ยงให้พนักงานนำเสด็จไป

๒. พระเจดีย์องค์ที่สอง เป็นสถานที่พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จลงจากเสลี่ยง แล้วทรงพระราชดำเนินด้วยพระบาทขึ้นไป

๓.พระเจดีย์องค์ที่สาม เป็นสถานที่พระเจ้าพิมพิสารได้ให้พวกข้าราชบริวารที่ติดตามให้รอคอยอยู่ และจากนั้นพระองค์กับทหารองครักษ์เสด็จขึ้นไปเฝ้าพระพุทธองค์บนยอดเขาคิชฌ กูฏ ณ มูลคัณธกุฎีที่ประทับ

๑๑. ถ้ำพระมหาโมคคัลลานะ

ถ้ำพระมหาโมคคัลลานะ เป็นถ้ำที่พระมหาโมคคัลลานะเคยอยู่ ในช่วงพระพุทธเจ้าจำพรรษา ณ กรุงราชคฤห์นี้ ซึ่งปัจจุบันนี้จะมองเห็น เพียงเพิงหินเล็ก ๆ เท่านั้น

๑๒. ถ้ำสุกรขาตา

ก่อนจะถึงยอดเขาคิชฌกูฏ จะพบถ้ำมีหินชะโงกเป็นง่อนผา สามารถหลบแดด หลบฝนได้มีลักษณะเป็นคางหมู ในสมัยพุทธกาลเรียกว่า “สุกรขาตา” ที่พระพุทธองค์ทรงใช้เป็นที่แสดงธรรมโปรด ทีฆนขปริพาชก หลานของท่านพระสารีบุตร ซึ่งขณะที่ท่านพระสารีบุตรกำลังถวายงานพัดอยู่ด้วยนั้น ท่านก็ได้ฟังธรรมและสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้นเอง หลังจากอุปสมบทแล้ว ๑๕ วัน ระหว่างทางก่อนจะถึงถ้ำสุกรขาตา จะผ่านสถานที่ที่พักของไพร่พลทหาร และสถานที่ที่พระเจ้าพิมพิสารลงจากหลังช้าง สถานที่ที่เปลื้องเครื่องทรงของกษัตริย์ออก ก่อนจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกครั้ง

๑๓. ภูเขาคิชกูฎ

คิชฌกูฏ วัดยอดเขานกแรง ที่เรียกอย่างนั้นเพราะในอดีตกาลเคยมีฝูงนกแร้งอาศัยอยู่ หรือภูเขาลูกนี้มียอดเขาคล้ายนกแร้ง

ที่ เขาคิชฌกูฏ พระพุทธองค์ไม่เคยได้เสด็จมาจำพรรษา แต่ได้เสด็จมาประทับเป็นประจำ เพราะเขาคิชฌกูฏไม่สูงนัก พอเสด็จขึ้นและลงได้ บนยอดเขามีที่ประทับและที่กว้างพ่อสำหรับรับแขก ทั้งสงบอากาศบริสุทธิ์เย็นสบาย และประกอบกับพระเจ้าพิมพิสาร องค์เอกอัครมัคคนายกได้ทรงให้คระวิศวกรทำถนนเป็นขั้นบันไดสำหรับเสด็จพุทธ ดำเนินขึ้นไป เริ่มตั้งแต่วัดมัททกุจฉิทายวันจนถึงที่พระพุทธองค์ประทับ และทั้งองค์พระมหากษัตริย์เองก็ได้เสด็จขึ้นไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อสนทนา ปัญหาประจำ ฉะนั้น ถนนพระเจ้าพิมพิสารในกาลต่อมา

๑๔. มูลคัณธกุฏี

มูล คัณธกุฏี อยู่บนยอดเขาคิชฌกูฏ จากถ้ำสุกรขาตาจะมีบันไดเดินขึ้นไปแล้ว จะพบกุฏีของพระอานนท์พุทธอุปัฏฐาก อยู่ทางขวามือ ถัดไปคือ มูลคันธกุฎี ตั้งอยู่บนชะง่อนผาที่สูงชัน มีความกว้างประมาณ ๗ คูณ ๑๒ ฟุต ปัจจุบันจะเหลือเป็นซากกำแพงอิฐเท่านั้น นั่นแหละคือมูลคัณธกุฏีที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ และได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จนมั่นคงในแคว้นมคธ โดยมีกรุง     ราชคฤห์เป็นศูนย์กลาง และข้างๆ ยังมีกุฏิพระอานนท์

๑๕. เรือนคุมขังพระเจ้าพิมพิสาร

เป็น ที่คุมขังพระเจ้าพิมพิสาร โดยพระเจ้าอชาติศัตรูพระราชโอรส ได้จับพระราชบิดามาคุมขังไว้ตรงนี้ เพื่อตัวเองจะได้ครองราชย์สมบัติแทน เพราะอยากเป็นใหญ่ด้วยเหตุที่ไปคบกับพระเทวทัต จนสุดท้ายพระเจ้าพิมพิสารถึงแก่สวรรคต เพราะแรงแห่งกรรมที่ตัวเองได้เคยทำไว้ในอดีตนั้นเอง ปัจจุบันเหลือแต่ซากกำแพงหินหนาประมาณ ๖ ฟุต ล้อมรอบบริเวณ ณ จุดนี้จะสามารถมองเห็นเข้าคิชฌกูฏได้ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสารเคยประทับยืนทอดพระเนตรชายจีวรของพระพุทธองค์ พร้อมได้เสด็จเดินจงกรมจนพระองค์สิ้นพระชนม์

๑๖. วัดชีวกัมพวัน

วัด ชีวกัมพวัน หรือพระอารามสวนมะม่วง เป็นสถานที่หมอชีวกโกมารภัจจ์ นายแพทย์ผู้มีชื่อเสียง จบการศึกษาจากตักศิลา เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์พระเจ้าพิมพิสารและได้รับความไว้วางใจจากแพทย์สภา ให้เป็นแพทย์ประจำองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย ได้มีศรัทธาถวายป่ามะม่วงให้เป็นพระอารามหลวง หรือเรียกว่า ชีวการาม ถือว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในพระพุทธศาสนาด้วย เพราะเคยเป็นที่ปฐมพยาบาลพระพุทธองค์ เมื่อครั้งถูกสะเก็ดหินที่พระเทวทัตต์ลอบกลิ่งหินหวังทำร้ายพระพุทธองค์ที่ บริเวณทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ ทำเกิดโลหิตุปบาท และเป็นที่แสดงสามัญญผลสูตร แก่พระเจ้าอชาตศัตรูจนทำให้พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันจะเห็นวัตถุก่อสร้างเป็นโครงซากหินมีรั้วล้อมรอบอยู่ริมทางเชิงคิชฌกูฏ

๑๗. มณียามัส

มณียามัส สันนิษฐานว่าเป็นเสาหลักเมืองของกรุงราชคฤห์ และเคยเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุในสมัยพระเจ้าอชาติศัตรู

๑๘. วิศวะศานติสถูป

เป็น สถูปที่สร้างโดยพุทธศาสนิกชนชาวญี่ปุ่น ตั้งอยู่บนยอดเขา รัตนคีรี องค์สถูปสีขาว มีพระพุทธรูปแบบญี่ปุ่นประดิษฐานอยู่ และมีสำนักสงฆ์ของญี่ปุ่นตั้งอยู่ด้วย ทุกวันนี้จะมีกระเช้าไฟฟ้าขึ้นลงได้อย่างสะดวก

๑๙. ลัฏฐิวโนทยาน

ลัฏ ฐิวัน สวนตาลรุ่น หรือสวนตาลหนุ่ม ตั้งอยู่ใกล้กับภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นสถานที่พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระอริยสงฆ์ ๑,๐๐๓ องค์ ได้พบกับพระเจ้าพิมพิสารพร้อมบริวารและคฤหบดี ๑๒๐,๐๐๐ คน ที่เสด็จไปเฝ้าพระพุทธองค์ พระพุทธองค์ได้ตรัสเทศนาเรื่องมหานารทชาดกโดยพิสดาร อนุปุพพิกถาและจตุราริยสัจ พอจบลงพระเจ้าพิมพิสารพร้อมกับพราหมณ์และคฤหบดี ๑๑ หมื่น บรรลุโสดาปัตติผล ส่วนที่เหลืออยู่อีก ๑ หมื่น ตั้งอยู่ในไตรสรณาคมน์เป็นอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา ปัจจุบันจะเห็นต้นตาลอยู่ประจำประปราย มีพระพุทธรูป ๑ องค์ ประดิษฐานอยู่บนวิหารที่ทางสมาคมนักศึกษาญี่ปุ่นได้สร้างศาลาถวายไว้ ห่างจากพระราชวังเก่าไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๑๒ กิโลเมตร

  • กาฬสิลา

กาฬ สิลา วัดถ้ำหินดำ ตั้งอยู่ข้างภูเขาอิสิคิลิ ด้านทิศใต้ของเมืองราชคฤห์ ในสังยุตตนิกาย กล่าวว่า พระพุทธองค์พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป มีท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระวังคีสะ เป็นต้น ได้เคยเสด็จมาประทับที่วัดนี้และเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่พระพุทธองค์ตรัสกับ ท่านพระอานนท์ว่า เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ และพระอริยสาวก ๒ ท่าน คือพระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งได้ถูกพวกเหล่าโจรทำร้ายทุบตี แต่ได้มาอธิษฐานการนิพพานที่นี่และพระโคริกะก็ได้มานิพพาน ณ สถานที่แห่งนี้

นอก จากนั้น สถานที่นี้พระทัพพะมัลลบุตรเคยได้จัดให้เป็นสถานที่พักของพระภิกษุทั้งหลาย ที่เดินทางมาจากจตุรทิศเพื่อจะมาเฝ้าพระพุทธองค์ตามที่พระมหาเถรานุเถระ เหล่านั้นประสงค์ใคร่จะพัก

  • อินทสาลคูหา

อิน ทสาลคูหา วัดถ้ำช้างน้าว ตั้งอยู่ระหว่างภูเขาเวทยิกะ ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองราชคฤห์ ซึ่งอยู่ถัดภูเขาคิชฌกูฏไปประมาณ ๖ กม. ที่ได้ชื่อว่า วัดถ้ำช้างน้าว เพราะที่หน้าประตูถ้ำมีตนช้างน้าวขึ้นอยู่

ครั้ง หนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ วัดถ้ำช้างน้าวนี้ ท้าวสักกเทวราช พร้อมด้วยหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ โดยการน้ำของปัญจสิขคนธรรพ์เทพบุตรได้เสด็จลงมาเฝ้าและทูลถามปัญหา พอจบพระธรรมเทศนา ท้าวสักกเทวราชพร้อมด้วยหมู่เทพเทวาได้ดวงตาเห็นธรรมกันถ้วนหน้า

๒๒. อันธกวินทะ

อิน ธกวินทะ เป็นวัดหนึ่งในมหาวิหาร ๑๘ ตำบล ซึ่งอยู่ในบริเวณกรุงราชคฤห์ ซึ่งได้กล่าวว่า ท่านพระมหากัสสปะ เป็นประธาน พร้อมด้วยพระอริยสงฆ์ ๕๐๐ องค์ ได้เคยมาจำพรรษาอยู่ ในอรรถกถาจารย์ได้กล่าวว่า ในวันหนึ่งเป็นวันลงพระอุโบสถ เพื่อฟังพระปาฏิโมกข์เป็นระยะทางถึง ๔ กม. (๑ คาวุต)

๒๓. ปาสาณกเจดีย์

เป็น สถานที่มาณพ ๑๖ คน ซึ่งเป็นศิษย์เอกของพราหมณ์พาวรี เข้าเฝ้าพระพุทธองค์และทูลถามปัญหาต่าง ๆ ที่พราหมณ์พาวรีแต่งให้ เมื่อศิษย์ทั้ง ๑๖ คนได้ถามปัญหาจากพระพุทธองค์ และพระองค์ทรงได้เฉลยปัญหาจบลง บรรดาศิษย์ ๑๕ คนได้บรรลุพระอรหัตตผลทันที เหลือปิงคิยะมาณพคนเดียวเท่านั้นที่ได้บรรลุเพียงโสดาปัตติผล เพราะใจไปมัวกังวลถึงอาจารย์

๒๔. ทักขิณาคิรีวิหาร

ทักขิณาคิริวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงราชคฤห์ อยู่ใกล้กับภูเขาอิสิคิลิและภูเขาปัณฑวะ ประมาณ ๕๐๐ เมตร

เนื่อง จากถนนจากเมืองสาวัตถีมายังกรุงราชคฤห์นั้น ต้องผ่านมาที่วัดทักขิณคิรีพอดี ดังนั้นพระพุทธองค์ในคราวที่เสด็จมาประทับทุกครั้งที่พระองค์เสด็จไปและกลับ ระหว่างกรุงสาวัตถีกับกรุงราชคฤห์

ครั้ง หนึ่งพระพุทธองค์ได้เสด็จมาที่วัดแห่งนี้ ตามเส้นทางที่ได้ทอดพระเนตรเห็นแปลงนาของชาวมคธ พูนดินทำเป็นตารางรูปสี่เหลี่ยมเล็กใหญ่ได้สัดส่วนทั้งด้านยาวและด้านกว้าง จึงรับสั่งให้พระอานนท์ตัดแต่งจีวรให้เป็นรูปตารางสี่เหลี่ยมคล้ายเขตแปลง นางของชาวมคธ

๒๕. หมู่บ้านเอกนาลา

เอกนาลา เป็นชื่อหมู่บ้านพราหมณ์ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับทักขิณาคิรีวิหาร ทางทิศด้านใต้ของเมือง     ราชคฤห์ ซึ่ง ในครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ หมู่บ้านนี้ ในตอนเช้าวันหนึ่ง กสิภารทวาชพราหมณ์กำลังเตรียมการไถนาและหว่านข้าว เห็นพระองค์เสด็จมาเพื่อบิณฑบาต จึงกราบทูลเป็นทำนองแนะนำพระพุทธเจ้าแนะนำพระพุทธองค์ว่า ข้าพระองค์ย่อมไถและหว่านครั้นไถและหว่านแล้ว จึงค่อยเสวยเถิด จากนั้นพระองค์ได้ทรงเทศนาตามนัย คือถาม – ตอบ ที่ชื่อ กสิภารทวาชสูตร พอจบพระธรรมเทศนา ภารทวาชพราหมณ์ทูลขอบรรพชาและอุปสมบท ตั้งใจปฏิบัติตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไม่นานนักท่านก็ได้บรรลุพระอรหัตตผล และพรรษาที่ ๑๑ นี้ พระทศพลก็ได้ทรงจำพรรษา ณ เอกนาลาวิหารปัจจุบันยังไม่ทราบว่าอยู่ตรงจุดไหน

  • อัมพลัฏฐิกา

เป็น สถานที่พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เดินทางอยู่ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา มีปริพพาชก ( นักบวชนอกศาสนา) ชื่อสุปปิยะ พร้อมด้วยศิษย์ชื่อพรหมทัตมาณพ เดินทางมาข้างหลัง สุปปิยะปริพพาชก ติเตียนพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่ศิษย์กล่าวสรรเสริญ เมื่อถึง เวลากลางคืนภิกษุทั้งหลายได้สนทนากันถึงเรื่องศิษย์อาจารย์กล่าวแย้งกัน เรื่องสรรเสริญ ติเตียนพระรัตนตรัย พระผู้มีพระภาคทรงทราบ จึงตรัสเตือนมิให้โกรธเมื่อมีผู้ติเตียนพระรัตนตรัย มิให้ยินดีหรือเหลิงเมื่อมีผู้สรรเสริญ แล้วตรัสว่า คนอาจกล่าวชมเชยพระองค์ด้วยศีล ๓ ชั้น คือศีลอย่างเล็กน้อย ศีลอย่างกลาง ศีลอย่างใหญ่

ครั้น แล้วพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงความคิดเห็น ๖๒ ประการของสมณพราหมณ์ในครั้งนั้น คือพวกที่มีความเห็นปรารภเบื้องตั้นของสิ่งต่าง ๆ ว่าเป็นมาอย่างไร และสิ่งต่างๆ จะลงสุดท้ายอย่างไร

๒๗. วัดไทยสิริราชคฤห์

วัด ไทยสิริราชคฤห์ ตั้งอยู่เมืองราชคฤห์ อำเภอนาลันทา รัฐพิหาร วางศิลาฤกษ์เมื่อปี ๒๕๔๖ โดยพระพุทธิวงศมุนี (บุญมา ทีปธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส จัดซื้อที่ดินในนามวัดไทยพุทธ คยา โดยการประสานงานของพระเทพโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูริปาโล/บุณยเนตร) และพระครูปลัด ดร.ฉลอง จนฺทสิริ วัดไทยพุทธคยา มีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาคุณของพระรัตนตรัย พระเจ้าพิมพิสาร พระเจ้าอโศกมหาราช หมอชีวกโกมารภัจจ์ พระเจ้าอชาติศัตรู พระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ โดยการอุปถัมภ์คณะพุทธบริษัทชาวไทย ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับถ้ำสัตตบรรณคูหามีทางเข้าทางด้านข้างของวัดเวฬุวัน (อยู่ในช่วงดำเนินการก่อสร้าง) โดยมีพระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ (พ.ม.วิเชียร วชิรวํโส Ph.D.) เป็นประธานสงฆ์ มีเนื้อที่ ๙ ไร่

สถานที่ต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม

  • พหุปุตตกนิโครธ

เป็นสถานที่ที่พระมหากัสสปะพบกับพระพุทธองค์และได้รับการแสดงธรรมพร้อมการบรรลุธรรมและได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธองค์

๒. โคตมนิโครธ

โค ตมนิโครธ หรือนิโครธาราม ยังไม่มีข้อมูลว่าอยู่ ณ จุดไหนในเมืองราชคฤห์ แต่เป็นสถานที่แห่งหนึ่งใน ๑๐ แห่ง ที่พระพุทธองค์ตรัสกับท่านอานนท์ในคราวแสดงโอภาสนิมิตว่าเป็นสถานที่น่าอยู่ น่ารื่นรมย์ และเป็นสถานที่แห่งหนึ่งเช่นกันที่พระทัพพมัลลบุตร ได้เคยจัดให้เป็นสถานที่พักของพระภิกษุสงฆ์ที่มาจากจตุรทิศ เพื่อรอเฝ้าพระพุทธเจ้า

๓. วิหาร ๑๘ ตำบล

ในกรุงราชคฤห์และเขตรอบ ๆ เมืองราชคฤห์มีปรากฏวิหารเกิดขึ้น ๑๘ ตำบล หรือที่เรียกว่า วิหาร ๑๘ ตำบล ดังนี้

๑. เวฬุวนาราม        ๒. ตโปธาราม            ๓. สัตตบรรณคูหา       ๔. กัสสปาราม

๕. สีตะวัน               ๖. เงื้อมผาสัปปโสณฑิกะ   ๗. อันธกวินทะ        ๘. ชีวกัมพวัน

๙. เหวทิ้งโจร           ๑๐. มัททกุจฉิทายวัน         ๑๑. คิชฌกูฏ             ๑๒.อินทสาลคูหา

๑๓. กาฬสิลา           ๑๔. ลัฏฐิวัน                   ๑๕. ทักขิณาคีรี        ๑๖. หมู่บ้านเอกนาลา

๑๗. โคตมนิโครธ    ๑๘. ปาสาณกเจดีย์

ที่มา http://www.kuay.org/?detail=detail&detail_id=245&name=%C3%D2%AA%A4%C4%CB%EC

” พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย ” ยืนยันโดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต


index
เรื่องมีอยู่ว่า
สมัยที่ ผู้เล่า อยู่กับ ท่านพระอาจารย์ ที่บ้านหนองผือ
มีชาวกรุงเทพมหานคร ไปกราบนมัสการ ถวายทาน ฟังเทศน์
และได้นำกระดาษห่อธูป มีเครื่องหมายการค้า รูปตราพระพุทธเจ้า
( บัดนี้ รูปตรานั้น ไม่ปรากฏ )
ตกหล่นที่บันไดกุฏิท่าน
พอได้เวลา ผู้เล่า ขึ้นไปทำข้อวัตรปฏิบัติท่านตามปกติ
พบเข้า เลยเก็บขึ้นไป

พอท่านฯ เหลือบมาเห็น ถามว่า “ นั่นอะไร ”
“ รูปพระพุทธเจ้า ขอรับกระผม ”
ท่านกล่าว “ ดูสิ คนเรา นับถือ พระพุทธเจ้า
แต่เอา พระพุทธเจ้า ไปขายกิน ไม่กลัวนรกนะ ”

แล้วท่าน ก็ยื่นให้ผู้เล่า บอกว่า “ ให้บรรจุเสีย ”
ผู้เล่า เอามาพิจารณาอยู่ เพราะ ไม่เข้าใจคำว่า บรรจุ
จับพิจารณาดู พระพักตร์ เหมือนแขกอินเดีย
ผู้เล่า อยู่กับท่านองค์เดียว ท่านวัน ยังไม่ขึ้นมา
ท่านพูดซ้ำอีกว่า “ บรรจุเสีย ”
“ ทำอย่างไร ขอรับกระผม ”

“ ไหนเอามาซิ ”
ยื่นถวายท่าน
ท่านจับไม้ขีดไฟมา ทำการเผาเสีย และพูดต่อว่า
“ หนังสือธรรมะสวดมนต์ ที่ตกหล่นขาดวิ่น ใช้ไม่ได้แล้ว
ก็ให้รีบบรรจุเสีย กลัวคนไปเหยียบย่ำ จะเป็นบาป ”

ผู้เล่า เลยพูดไปว่า
“ พระพุทธเจ้า เป็น แขกอินเดีย นะกระผม ”
ท่านฯ ตอบ
“ หือ คนไม่มีตา เขียน , เอา พระพุทธเจ้า ไปเป็นแขกหัวโตได้ ”

ท่านฯ กล่าวต่อไปว่า

“ อันนี้ได้พิจารณาแล้วว่า พระพุทธเจ้า เป็นคนไทย

พระอนุพุทธสาวก ในยุคพุทธกาล ตลอดจนถึงยุคปัจจุบัน ล้วนแต่ไทยทั้งนั้น
ชนชาติอื่น แม้แต่ สรณคมน์ และ ศีล ๕ เขาก็ไม่รู้
จะเป็น พระพุทธเจ้า ได้อย่างไร ดูไกลความจริงเอามาก ๆ

เราได้เล่าให้เธอฟังแล้วว่า
ชนชาติไทย คือ ชาวมคธ รวมรัฐต่าง ๆ มี รัฐสักกะ เป็นต้น
หนีการล้างเผ่าพันธุ์ มาในยุคนั้น
และ ชาวพม่า คือ รัฐโกศล เป็นรัฐใหญ่
รวมทั้ง รัฐเล็ก ๆ จะเป็นวัชชี มัลละ เจติ เป็นต้น
ก็ทะลักหนีตาย จากผู้ยิ่งใหญ่ ด้วยโมหะ อวิชชา มาผสมผสานเป็น มอญ (มัลละ)
เป็นชนชาติต่าง ๆ ในพม่า ในปัจจุบัน ”
“ ส่วน รัฐสักกะ นั้นใกล้กับ รัฐมคธ ก็รวมกันอพยพมา สุวรรณภูมิ
ตามสายญาติ ที่เดินทางมาแสวงโชค ล่วงหน้าก่อนแล้ว ”

ผู้เล่า เลยพูดขึ้นว่า
“ ปัจจุบันพอจะแยก ชนชาติในไทย ได้ไหมขอรับกระผม ”
“ ไม่รู้สิ อาจเป็น ชาวเชียงใหม่ ชาวเชียงตุง ในพม่า ก็ได้ ”
ขณะนั้น ท่านวัน ขึ้นไปพอดี ตอนท้ายก่อนจบ ท่านเลยสรุปว่า
“ อันนี้ (หมายถึงตัวท่าน) ได้พิจารณาแล้ว
ทั้งรู้ ทั้งเห็น โดยไม่มีข้อสงสัยใด ๆ ทั้งสิ้น ”

ผู้เล่า พูดอีกว่า
“ แขกอินเดีย ทุกวันนี้ คือพวกไหน ขอรับกระผม ”
ท่านบอก
“ พวกอิสลาม ที่มาไล่ฆ่าเรา นะซิ ”
“ ถ้าเช่นนั้น ศาสนาพราหมณ์ ฮินดู เจ้าแม่กาลี การลอยบาปแม่น้ำคงคา
ทำไมจึงยังมีอยู่ รวมทั้ง ภาษาสันสกฤตด้วย ”
“ อันนั้นเป็นของเก่า เขาเห็นว่าดี
บางพวกก็ยอมรับ เอาไปสืบต่อ ๆ กันมาจนถึงปัจจุบัน
ส่วนพวกเรา พระพุทธเจ้า สอนให้ละทิ้งหมดแล้ว
เราหนีมาอยู่ทางนี้ พระพุทธเจ้า สอนอย่างไรก็ทำตาม ”

ท่านยังพูด คำแรง ๆ ว่า
“ คุณ ตาบอด ตาจาว หรือ
เมืองเรา วัดวา ศาสนา พระสงฆ์ สามเณร เต็มบ้านเต็มเมือง ไม่เห็นหรือ ”
( ตาบอด ตาจาว เป็นคำที่ท่านจะกล่าวเฉพาะ กับผู้เล่า )

“ แขกอินเดีย เขามีเหมือน เมืองไทยไหม
ไม่มี มีแต่จะทำลาย
โชคดีที่อังกฤษ มาปกครอง เขาออกกฏหมาย ห้ามทำลาย โบราณวัตถุ โบราณสถาน
แต่ก็เหลือน้อยเต็มที ไม่มีร่องรอยให้เราเห็น
อย่าว่าแต่ พระพุทธเจ้าเลย ตัวเธอเองนั้นแหละ
ถ้าได้ไปเห็นสภาพ ความเป็นอยู่ของชาวอินเดีย จ้างเธอก็ไม่ไปเกิด ”

“ ของเหล่านี้นั้น ต้องไป ตามวาส ตามวงศ์ตระกูล
อย่างเช่น
วงศ์พระพุทธศาสนา ของเรานั้นเป็น อริยวาส อริยวงศ์ อริยตระกูล
เป็นวงศ์ที่ พระพุทธเจ้า จะมาอุบัติ
คุณ แปลธรรมบท มาแล้ว
คำว่า ปุคฺคลฺโล ปุริสาธญฺโญ ลองแปลดูซิว่า
พระพุทธเจ้า จะเกิดในมัชฌิมประเทศ หรือ อะไรที่ไหนก็แล้วแต่
จะเป็นที่อินเดีย หรือ ที่ไหนก็ตาม
ทุกแห่งตกอยู่ ในห้วงแห่งสังสารวัฏฏ์
ถึงวันนั้น พวกเราอาจจะไปอยู่อินเดีย ก็ได้ ”

“ พระพุทธเจ้า ทรงวาง พระพุทธศาสนาไว้
จะเป็นระหว่าง พุทธันดรก็ดี สุญญกัปป์ก็ดี ที่ไม่มี พระพุทธศาสนา
แต่ชนชาติที่ได้เป็น อริยวาส อริยวงศ์ อริยประเพณี อริยนิสัย ก็ยังสืบต่อไปอยู่
ถึงจะขาด ก็คงขาดแต่ ผู้สำเร็จมรรคผล เท่านั้น
เพราะว่างจาก บรมครู ต้องรอ บรมครู มาตรัสรู้ จึงว่ากันใหม่ ”

ผู้เล่า ได้ฟังมาด้วยประการละฉะนี้แล ฯ
คัดลอกจาก หนังสือ ” รำลึกวันวาน ”
โดย กองทุนแสงตะวัน วัดปทุมวนาราม
หมวด รำลึกพระธรรมเทศนา หน้าที่ ๒๒๗
( เป็นหนังสือรวบรวมเกร็ดประวัติ ปกิณกธรรม และ พระธรรมเทศนา แห่งองค์หลวงปู่มั่น
จาก บันทึกความทรงจำ ของ หลวงตาทองคำ จารุวณโณ
ในสมัยที่ได้อยู่อุปัฏฐาก หลวงปู่มั่น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๗-๒๔๙๒ )

 

… แหล่งที่มาข้อมูล …

http://www.watgiessen.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&Category=watgiessencom&thispage=1&No=460820

computer-services2.jpg


เปรียบเทียบคอมพิวเตอร์ กับ มนุษย์

มนุษย์หรือคน ประกอบด้วยส่วนหลักๆ สองส่วนคือ รูปธรรม นามธรรม หรือ ประกอบด้วยร่างกาย และ จิตใจนั่นเอง ร่างกายคือ สิ่งที่เราจับต้องได้ แขน ขา หัว ฯลฯ ซึ่งประกอบมาจาก ดิน น้ำ ลม ไฟ นั่นเอง

จิตใจ คือ สิ่งที่เราจับต้องไม่ได้ สัมผัสได้ด้วยใจ เช่น ความคิด อารมณ์ (รัก โลภ โกรธ หลง ฯลฯ) ความรู้สึกนึกคิด การจำได้หมายรู้
เวลาจิตเราไปรับกับสิ่งภายนอก จากอายตนะ input (หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ) จิตมีหน้าที่ไปรับรู้และนำไปประมวลผล ได้สิ่งที่ออกมาคือ output เช่น ความโกรธ ความโลภ ความหลง

จิตของเรามันมีความสามารถมากและมีหน้าที่หลายอย่างคือ มีหน้าที่คิด มีหน้าที่รับรู้ มีหน้าที่เก็บข้อมูล มีหน้าที่ประมวลผล (ขอเรียกสั้นๆ ว่า “ตัวรู้”) ถ้าปราศจากจิต ร่างกายจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เช่น สมมุติว่า เรากำลังเล่นกีฬาชนิดหนึ่ง เช่น โยคะ เรากำลังจะยืดขาของเราไปเรื่อยๆ สังเกตไหมว่า ถึงจุดหนึ่ง จะมีผู้รู้บอกมาว่าพอแล้วนะ ถ้าเกินกว่านี้ร่างกายจะรับไม่ได้ กล้ามเนื้อขาจะฉีกขาดนะ ตัวผู้รู้
นั้นอยู่ที่ไหน? เค้ามาได้อย่างไร? ทำไมเค้ารู้ว่ามันถึงจุดอันตราย? ก็เค้าเป็นผู้รู้ไง เค้าถึงได้รู้ทุกอย่าง

ผู้คิด จิตมีหน้าที่คิด จะคิดตลอดทั้งวันทั้งคืน กลางคืนก็คือ “ความฝัน” กลางวัน เรียกว่า “ความคิด” มันจะคิดๆๆๆๆ ได้ตลอดทุกวินาที นั่นคือ กระบวนการทำงานของมัน แล้วมันมีประโยชน์อย่างไรหล่ะ? ยก ตัวอย่างเช่น เราตั้งของไว้บนเตาแล้วเดินไปที่อื่น ถ้าตัวที่เรียกว่า “ผู้คิด” ไม่ทำงานเราจะจำไม่ได้ว่าเราตั้งของไว้บนเตา คือ เจ้าความคิดมันก็คิดของมันไปเรื่อยๆ แล้วเจ้าจิตอีกตัวพอมันเห็นความคิดที่ว่าเมื่อกี้ตั้งของไวบนเตา สติก็จะเกิดขึ้น แล้วมันก็พาเจ้าร่างกายนี่ไปปิดแก๊ส เจ้า”ผู้คิด” นี่แหล่ะตัวดี มันจะคิดไปได้เรื่อยเปื่อย ทั้งเรื่องดีและไม่ดี มันจะไปวนเวียนกับเรื่องที่มากระทบแรงๆ ล่าสุดก่อน ถ้าในเรื่องไม่ดีก็เช่น วันนี้เราทะเลาะกับใครมา หรือเราไปเจอหน้าผู้ที่เคยบาดหมางกันมาก่อน มันก็จะคิดปรุงไปเรื่อย ไม่หยุดเลยจริงๆ หรืออีกแง่คือในแง่บวก เช่น คนกำลังมีความรัก จิตใจก็จะปรุงเฝ้าคิดไปเรื่องความรัก หน้าคนที่เรารัก หรืออย่างคนที่ชอบทำบุญ พอได้ทำบุญใจก็อิ่มเอิบคิดแต่เรื่องบุญได้ทั้งวันทั้งคืน นี่คือหน้าที่เจ้า “ผู้คิด”

“กรรม” กรรม คือ การกระทำ กรรมเก่าคือ การกระทำก่อนๆ ที่เคยทำมา แล้วมันถูกเก็บไว้ในส่วนหนึ่งของจิต ไม่ว่าจะกรรมดีกรรมชั่ว ส่วนกรรมใหม่คือ การกระทำปัจจุบัน เช่น คนที่ชอบทำบุญทำทาน จิต
ก็จะมีแต่ความเบิกบาน อย่างที่บอกก่อนหน้าเจ้าตัวคิด มันชอบย้ำคิดของมัน พอคิดมากๆ มันก็เอาไปเก็บไว้ในส่วนหนึ่งของจิต ซึ่งเราอาจเรียกว่าเป็น “อนุสัย” คือ นิสัยที่ทำประจำ, ในอีกแง่คือแง่ลบ คือ
คนที่ชอบทำแต่สิ่งที่ไม่ดี เช่น ชอบไปกินเหล้าพอกินเหล้าก็ขาดสติ พวกที่ใจหมกมุ่นอยู่ในกาม ใจหมกมุ่นอยู่ในความโกรธ อาฆาต พยาบาท สิ่งเหล่านี้พอทำซ้ำๆ เข้า เจ้าจิตที่มีหน้าที่บันทึก มันก็
จะบันทึกไว้ (มันเป็นนามธรรม คือ จับต้องไม่ได้ ไม่มีที่ตั้ง) แต่สิ่งเหล่านี้จะถูกบันทึกลงไว้ในจิต ถึงแม้จะไปเกิดในชาติใหม่สิ่งเหล่านี้ย่อมติดตามไป ที่เค้าเรียกว่า “กฎแห่งกรรม” นั่นเอง ถ้าจะนำมาเปรียบเทียบให้เห็นง่ายๆ กับ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน จิตในชาติปัจจุบันอาจเปรียบเทียบได้กับเม็มโมรี่ส่วนที่เรียกว่า RAM (RAM คือ เม็มโมรี่ของคอมพิวเตอร์ ที่จะเก็บข้อมูลไว้ ในกรณีที่มีไฟเลี้ยงเท่านั้น ถ้าไฟดับความจำที่อยู่ในเม็มโมรี่ RAM นี้ก็จะหายไปทันที) เพราะฉะนั้นการที่เรารับสิ่งที่มากระทบกับกายใจของเรา คือ input เลข 0 และเลข 1 เท่านั้น (หรือจะเรียกว่า เกิด ดับ, 1=เกิด, 0=ดับ) แล้วจิตทำหน้าที่ประมวลผล (สังขารคือ ความความปรุงแต่งเริ่มทำงาน) คอมพิวเตอร์ก็จะให้ CPU ประมวลผลออกมา หลังจากประมวลผลแล้ว มันต้องมีที่ๆ เก็บการประมวลผล (จิตมีหน้าที่อีกอย่างคือ เก็บการประมวลผล) แต่เมื่อบางสิ่งบางอย่าง เราชอบทำบ่อยๆ เช่น คนที่ชอบโกรธ ก็จะโกรธไปเรื่อยๆ ถ้าไม่มีสติ ก็จะไม่เห็นความโกรธ แล้วเปลี่ยนเป็นความอาฆาต พยาบาท จิตมันจะไปเก็บสะสมความโกรธความ พยาบาทนี้ ในจิตเบื้องลึก ที่เรารู้จักกันในชือ “อนุสัย” ในคอมพิวเตอร์หล่ะเก็บไว้ที่ไหน เมื่อ RAM เก็บข้อมูลไว้จำนวนหนึ่ง และเมื่อมันมีความจุไม่พอ มันต้องไปหาที่เก็บอีกที่ หรือ ที่เรารู้จักในนามของ “Hard-disk ฮาร์ดดิส” Harddisk มันสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้แม้จะไม่มีไฟจ่ายมาเลี้ยง (ไม่เหมือนหน่วยความจำที่เรียกว่า RAM) เจ้า harddisk นี่แหล่ะคือ ข้อมูลที่บันทึกไว้ข้ามภพข้ามชาติ คือ ถ้าข้อมูลที่เก็บใน RAM และคอมพิวเตอร์ยังจ่ายไฟให้ RAM ความจำส่วนนี้ก็ยังอยู่ (เหมือนคนเราที่ยังมีชีวิตอยู่ ข้อมูลเหล่านี้บางทีเราก็จำได้) สังเกตอย่างหนึ่งไหมว่า บางทีเราจำสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นตอนเด็กๆ ได้อย่างดี สิ่งเหล่านั้นคือ สิ่งที่มากระทบเราอย่างแรง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ประทับใจหรือสิ่งที่โหดร้ายกับตัวเรา (อย่างที่อธิบายไว้ในตอนแรก ถ้ามีอะไรกระทบแรงๆ จิตมันจะเข้าไปรู้สึกตรงนั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และบันทึกไว้ในจิตเบื้องลึก) นี่แหล่ะตรงนี้แหล่ะ คือ สิ่งที่จะติดไปกับจิตวิญญาณของเราข้ามภพข้ามชาติ ทีนี้เราจะทำอย่างไรกับข้อมูลใน harddisk ดีหล่ะ? ทำอย่างไรให้ข้อมูลใน harddisk ค่อยๆ หมดไป (อนุสัย ค่อยๆ หมดไป) กลับย้อนไปกระบวนการทำงานของจิต ที่ควบคุมร่างกายเรา ทั้งที่เรียกว่า ผู้รู้ และ ผู้คิดทั้งผู้รู้และผู้คิด เค้าทำหน้าที่ของเค้าไป ถึงแม้บางทีเราดำรงชีวิตเราไปเรื่อยๆ ทั้งผู้รู้และผู้คิดเค้าก็ทำงานของเค้าไป เพื่อให้ร่างกายนี้มันไม่มีอันตราย เค้าทำงานแบบเงียบๆ โดยไม่เราไม่รู้ตัว ถ้าพูดง่ายๆ คือ บงการเราอยู่เบื้องหลังโดยที่เราไม่รู้ตัวเลย อยากจะให้เราเป็นอย่างไรก็ได้ ทีนี้มาดูกันว่า เราจะไม่ให้เจ้า ผู้รู้ ผู้คิด เนี่ยะมาบงการเราได้ ทำอย่างไร เราก็ต้องไปแอบดักจับดูกระบวนการตอนที่ เจ้าผู้รู้ ผู้คิด นี่แอบทำงาน โดยเอาจิตอีกดวงไปสังเกต เช่น เวลาเจ้าผู้คิด ทำหน้าที่คิด มันจะคิดๆๆๆๆ ไปแบบนี้ทั้งวันทั้งคืน เราก็ไปดักดูว่า น่านมันคิดไปอีกแล้ว (แหม๋บางทีคิดไป พอเราไม่รู้ตัวเราก็หลงไปกับมันทำให้เราโกรธแค้น ถึงกับไปทำร้ายคนที่เราโกรธแค้นไว้ ออกมาทั้งกาย วาจา ใจ, หรือบางที เจ้าตัวคาดเนี่ยะหลอกให้เราคิดถึงความรัก วันๆ ไม่ทำอะไรนั่งเพ้อฝันถึงหน้าคนที่เรารัก คำพูดหวานๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า) อีกหน้าที่นึง คือ มันมีหน้าที่หลอกเรา หลอกให้เราตกอยู่ในอารมณ์ต่างๆ แล้วหลุดออกมาสังเกตมันทำงานไม่ได้ นี่แหล่ะมันถึอว่าภาระกิจมันสำเร็จแล้ว
แต่ถ้าเรามีสติ ไปสังเกตเวลามันแอบทำงาน เรารู้เลยว่ามันหลอกเราให้คิดแล้วไปทำโน่น นี่ นั่น เราหยุดไว้ทัน พอหยุดไว้ทัน มันก็จบแค่นั้น ข้อมูลก็ไม่ถูกบันทึกไว้ในเม็มโมรี่ เจ้าอนุสัยนี่ร้ายกาจมาก มันฝังตัวข้ามภพข้ามชาติกันทีเดียว ใครสะสมอะไรมันก็ส่งผลมามาก เช่น สะสมความโกรธไว้มาก มีอะไรมากระทบนิดหน่อยก็โกรธแล้ว หรือ สะสมความโลภไว้มากอยากได้ไปหมด สะสมราคะไว้มากเห็นสิ่ง
สวยงามมาล่อตาล่อใจมันก็กระโจนใส่ทันที แล้วเราจะล้างมันได้อย่างไรสิ่งพวกนี้ ก็อย่างที่บอกคือ รู้ทันมันก่อนที่มันจะหลอกเราให้ทำอะไรต่อไป รู้ทันมัน เช่น มันคิดเรื่องที่เราไม่พอใจ ทำให้เราโกรธ
มันขุดอนุสัยตรงนี้ขึ้นมา พอเรารู้ทันมันเราก็ไม่ทำตามมัน ความโกรธตรงนั้นก็ดับ รู้ทันมันไปเรื่อยๆ มันถูกตัดไปเรื่อยๆ จนมันอ่อนแรง เหมือนการตัดหญ้า สนามหญ้าของเราถ้าไม่ได้ตัดสักพักหญ้าจะขึ้นสูง ต้นใหญ่ รากแข็งแรง เราตัดครั้งแรกมันก็จะไม่เกลี้ยง แต่อาศัยว่าตัดบ่อยๆ พอยังไม่ทันจะโตก็ตัด ตัดไปเรื่อยๆ จนในที่สุดมัน
อ่อนแอ และขึ้นแทบจะไม่ได้เลย และในที่สุดก็ถูกถอนรากถอนโคนไป หลายคนขี้เกียจตัดหญ้าไปหาอะไร เช่น หินมาทับมันไว้ พยายามไปกดข่มไม่ให้เจ้าอนุสัยออกมา (ต้องให้มันออกมาเหมือนหญ้าและคอยตัดไปบ่อยๆ) พอมันไม่ออกมาคราวนี้ ลองยกหินออกสิ แล้วปล่อยไว้สักพัก มันจะโตเร็วมาก รากหนาใหญ่ ฝังไปลึก ยากต่อการกำจัดยิ่งนัก เพราะฉะนั้นเวลามีอะไรเกิดขึ้น ให้รู้ ไม่ใช่ให้ไปข่มไว้ (อย่าโกรธนะ อย่าโกรธนะ) มันจะทำให้หญ้ายิ่งแข็งแรงยิ่งขึ้น เวลาเรายกหินออกจากหญ้าตรงนั้น

เพราะฉะนั้น เราต้องรู้ทัน มีสติ แล้วกระบวนการต่างๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย